วันพฤหัสบดี, 9 มกราคม 2568

เมื่อลูกคนโตกำลังรู้สึกว่าอิจฉาน้อง แล้วคุณแม่จะทำยังไงดี

28 มิ.ย. 2017
2249

อิจฉาน้อง

 

การอิจฉาจังระหว่างพี่กับน้อง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้พ่อแม่อาจเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อให้ลูกคนโตได้รับมือกับบทบาทใหม่ หากเขาอายุขวบครึ่งไปแล้วเด็กวัยนี้จะสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆที่ผู้ใหญ่สอนได้แล้ว การอธิบายว่าเด็กในท้องแม่ คือน้องสาวหรือน้องชายของเขานะ พูดถึงข้อดีของการมีน้องว่าเขาจะได้มีเพื่อนเล่นไม่เหงาแน่ๆ แล้วหละต่อไปนี้ แต่แม่ก็ยังรักเขาไม่เปลี่ยนแปลง ช่วงที่พ่อแม่ทำความเข้าใจกับลูกคนโต การปฏิบัติที่เคยให้แก่เขาก็ต้องไม่เปลี่ยนแปลงด้วยนะ เช่น เคยซื้อของเล่นให้ เคยพาไปสวนสาธารณะ เคยมีเวลาพิเศษอยู่ร่วมกันก็ควรทำไปตามปกติ ข้อห้ามคืออย่าใช้คำพูดที่ทำให้เขารู้สึกไม่ดี เช่น ถ้าลูกดื้อแม่จะไม่รัก แม่จะรักน้องคนเดียว เป็นต้น ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์หรือช่วงที่ผ่านพ้นความเสี่ยงในเรื่องการแทงไปแล้ว แม่อาจขอความช่วยเหลือให้ลูกรู้สึกว่าเขามีส่วนร่วมในการดูแลน้อง อาจจะให้เขาช่วยจัดห้องหรือเตรียมของเล่นให้น้องด้วยก็ได้ แต่อย่าคาดหวังว่าเขาจะทำได้ทุกอย่างเพราะถึงอย่างไรเขาก็ยังเป็นเด็กคนหนึ่ง

 

ลูกคนโตในช่วงเตรียมใจ

พ่อแม่ควรพยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆให้น้อยที่สุด เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนความรู้สึกลูกคนโต แต่การที่เขาถูกย้ายห้องนอน ไม่ได้ดูดนมแม่อีก นั่นอาจสร้างความเครียดให้เข ฉะนั้นเด็กเองควรมีระยะเวลาปรับตัวอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนหรือหลังคลอด การค่อยๆ ปรับความรู้สึกจะทำให้ลูกไม่รู้สึกตัวเองว่าถูกแทนที่ แต่เขาจะรู้สึกว่าเขาต้องเปลี่ยนเพราะเขาโตขึ้นและเก่งขึ้นแล้ว

 

ลูกคนโตควรมีส่วนร่วมแค่ไหน

แม่บางคนอาจคิดไปไกลว่าอยากให้ลูกรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งขอให้ลูกคนโตเข้าไปอยู่ในห้องคลอดด้วย แต่ความเครียดในห้องคลอดเสียงร้องที่เจ็บปวดของแม่อาจไม่เป็นผลดีเท่าไร ลูกอาจรู้สึกว่าเสียงไม่ดีกำลังเกิดขึ้น บางคนกลัวเลือดก็จะยิ่งทำให้แม่รู้สึกกังวลได้ เพราะเป็นห่วงลูกที่อยู่ในห้องคลอดจนไม่มีสมาธิในการเบ่งคลอด ดังนั้นการให้ลูกเข้ามาหลังการคลอดเมื่อทุกอย่างเรียบร้อยน่าจะเป็นภาพที่ดีมากกว่า การที่พี่ได้เจอกับน้องได้มีโอกาสสัมผัสได้พูดกับน้องช่วยงานแม่เล็กๆน้อยๆด้วยการหยิบผ้าอ้อมให้แม่ ให้เขามาเยี่ยมน้องได้บ่อยเท่าที่เขาต้องการ จะทำให้เขามีความรู้สึกส่วนร่วมได้ดีกว่า แต่อย่าบังคับหากเขาไม่ต้องการ

 

อิจฉาน้อง

 

เมื่อน้องกลับบ้าน

ทันทีที่กลับถึงบ้าน แม่ส่วนใหญ่มักอยากจะจัดทุกอย่างให้เข้าที่ ความวุ่นวายในบ้าน การจัดข้าวของ การดูแลลูกน้อย อาจทำให้ลืมลูกคนโตเสียสนิท แม้จะไม่ตั้งใจก็ตามที หากเป็นไปได้ให้ลูกออกไปเล่นนอกบ้านซักพัก รอให้คุณจัดการทุกอย่างให้เรียบร้อย แล้วให้ลูกกลับมาน่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่า เพราะเมื่อลูกคนโตมาถึงบ้าน คุณก็พร้อมที่จะยิ้มและกอดเขา มีเวลาคุยกับเขาเป็นการส่วนมากขึ้น หากเป็นไปได้ก็เตรียมของขวัญไว้ให้เขาด้วยก็ดี ถ้าเขาเป็นผู้หญิงอาจให้ตุ๊กตาหรือของเล่นที่เขาชอบ เพื่อให้เขาไม่รู้สึกว่าถูกละเลย อย่าไปเซ้าซี้ถามว่าเขาชอบน้องหรือไม่ ขอให้คุณรอฟังเขาพูดถึงน้องก่อนเมื่อเขาพร้อมและอย่าแปลกใจถ้าเขาจะบอกว่าไม่ชอบน้อง เพราะลูกต้องการเวลาปรับตัว ส่วนใหญ่ลูกคนโตจะปรับตัวได้ดีในช่วง 2-3 วันแรก แต่เวลายิ่งผ่านไปนาน 2-3 สัปดาห์เขาอาจรู้สึกว่าการมีน้องไม่ใช่เรื่องสนุกอีกต่อไปก็เป็นได้เช่นกัน

 

ที่มาและการอ้างอิง

ดร.สป๊อก-นายแพทย์เบนจามิน สป๊อก (เขียน).แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ (แปล).คำภีร์เลี้ยงลูก (19-20).กรุงเทพ.อมรินทร์สุขภาพ.2552.