วันศุกร์, 10 มกราคม 2568

7 วิธีหยุดนิสัยทางการเงินที่ไม่ดี

02 ก.ค. 2017
1957

ความฉลาดทางการเงิน

 

จริงอยู่ว่า การเป็นหนี้เป็นเรื่องที่ใหญ่มากในสังคมปัจจุบัน คุณใช้จ่ายไปเงินไปเรื่อยๆ จนวันนึงคุณเองก็กำลังรู้สึกว่าตัวเองนั่งอยู่บนกองหนี้ไปซะแล้ว นั่งคิดไปคิดมาอีกวันนึงก็รู้สึกเหมือนกับว่ามันจะดีขึ้นแต่มันก็กลับไม่ใช่อีกอยู่ดี มันก็เป็นแค่ความรู้สึกที่คิดกลับไปกลับมาเท่านั้น มันก็คงคล้ายๆกับการที่คุณคิดอยากจะลดน้ำหนักด้วยการอดอาหาร คุณอาจจะสามารถอดมันได้ 2 วัน พอวันที่ 3 คุณก็ทำไม่ได้อีกแล้ว กี่ครั้งแล้วที่คุณพยายามที่จะลดน้ำหนักด้วยการอดอาหาร แต่ก็ต้องรู้ว่ามันล้มเหลวทุกครั้ง ความรู้สึกแบบนี้มันเกิดขึ้นหลายครั้งจนนับไม่ถ้วน ใช่หรือไม่ แต่ถ้าหากคุณคิดว่าคุณจะต้องทำอย่างจริงจังแล้วนะ เพื่อจะได้ดูสวยในชุดแต่งงาน หรือได้ใส่ชุดบิกินี่ที่ชายหาดบ้าง คุณก็คงจะยอมทำสิ่งเหล่านี้เพื่อเป้าหมายที่สำคัญของคุณ มันก็เหมือนกับการหยุดนิสัยทางการเงินที่ไม่ดีของคุณเช่นเดียวกัน ลองถามตัวเองดูดีๆว่าจะอยู่บนกองหนี้ไปจนตลอดชีวิตอย่างนั้นหรือ คุณสามารถเปลี่ยนมันได้หรือไม่ แล้วคุณจะทำอย่างไร แล้วจะทำเมื่อไหร่

 

 

7 วิธีหยุดนิสัยทางการเงินที่ไม่ดี

1.ขจัดความอยากที่จะซื้อ

มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ถ้าหากเรามีความต้องการซื้อ เพราะว่าสิ่งล่อตาล่อใจมีอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นร้านเสื้อผ้าหรือห้างสรรพสินค้าเพราะเรามักจะเดินผ่านอยู่ทุกวัน สิ่งพวกนั้นมันก็ล่อตาล่อใจเราอยู่แล้ว แต่เราจะมีวิธีการป้องกันใจเราเองได้ยังไงมาดูกันสักนิด

  • อ่านหนังสือหรือนิตยสารอยู่ในที่ทำงาน
  • นั่งดื่มกาแฟหรือพูดคุยกับเพื่อนๆในที่ทำงาน
  • ไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะเพื่อออกกำลังกายบ้างในแต่ละวัน
  • หยุดการสร้างหนี้และทำการจ่ายหนี้ให้ครบถ้วน ด้วยการทำธุรกรรมผ่านทางอินเตอร์เน็ตหรือทางโทรศัพท์และจัดการให้มันจบสิ้นไปในทุกๆเดือน

 

2.ไม่สนใจหรือแตะต้องบัญชีเงินฝากที่คุณมีอยู่

ให้คุณเปิดบัญชีออมทรัพย์หรือเปิดบัญชีสำรองขึ้นมาใหม่หนึ่งบัญชี และกำหนดว่าให้ถอนเงินส่วนหนึ่งจากบัญชีเงินเดือนของคุณนำไปฝากไว้ที่บัญชีนี้ทุกครั้งที่เงินเดือนออก เพราะมันจะเป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้คุณไม่มีเงินเหลือเฝืออีกต่อไป ดังนั้นโอกาสที่คุณจะใช้มันในทางที่ฟุ่มเฟือยก็จะน้อยลง

 

3.เขียนเป้าหมายการบริหารจัดการหนี้

นอกาจากเขียนแล้วก็เปิดมันขึ้นมาดูบ่อยๆด้วย แนวความคิดนี้ก็เพื่อให้คุณมุ่งเป้าไปที่เป้าหมายที่จะจัดการหนี้สินและเพิ่มการออมของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการออมเพื่อเงินไปเที่ยวพักผ่อนในวันหยุดยาว ซื้อรถ ซื้อบ้าน ก็ตาม และให้ทำการตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป ให้คุณเขียนติดไว้ที่ข้างฝาหรือใกล้ๆโต๊ะทำงานของคุณก็ได้ เพื่อที่จะเอาไว้อ่านทุกวัน เพื่อเป็นการตอกย้ำตัวเองไม่ให้ทำในสิ่งที่ทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุอีกต่อไป

 

4.พกเงินสดติดตัวให้น้อยเข้าไว้

บางทีการที่มีเงินสดติดตัวอยู่ไม่มากก็จะทำให้เราใช้จ่ายน้อยลงโดยอัตโนมัติได้เหมือนกัน

 

5.เก็บบัตรเครดิตไว้ที่บ้าน

ไม่ว่าคุณจะเดินทางไปที่ไหนก็ตาม ก็ไม่ต้องเอาบัตรเครดิตไปด้วย เพราะหากคุณเผลอที่จะเข้าไปซื้อของหรือสิ่งใดๆก็ตามให้คุณต้องการ แต่คุณไม่มีบัตรเครดิตมันก็จะช่วยให้คุณหยุดการใช้จ่ายไปได้ เผลอ ๆ คุณก็อาจจะลืมสิ่งที่อยากได้ไปเลยก็ได้นะ

 

6.หาแรงสนับสนุน

หมายถึงว่าให้คุณลองคุยกับเพื่อนๆในกลุ่มที่มีความตั้งใจที่จะจัดการกับหนี้สินและออมเงินให้มากขึ้น แลกเปลี่ยนทัศนคติซึ่งกันและกัน ช่วยตักเตือนกันเพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างหนี้ และมันจะดียิ่งไปกว่านั้น ถ้าคุณมีเป้าหมายร่วมกันสักเรื่องสองเรื่อง เช่น สัญญากันว่าเราต้องไปเที่ยวต่างประเทศด้วยกัน เป็นต้น คุณก็อาจจะมีแรงสนับสนุนในการออมเงินขึ้นมาได้

 

7.การสนับสนุนจากครอบครัว

หากคุณมีสมาชิกในครอบครัวหรือมีเพื่อนที่สนิทสนมที่ดูแลเงินได้เป็นอย่างดีก็หาเวลาคุยกัน ขอเคล็ดลับดีๆจากเขาบ้าง ถ้าหากเขารู้จักคุณดีพอเขาก็อาจจะให้คำแนะนำแบบตัวต่อตัวกับคุณได้ หรือแค่ให้เขารับฟังแผนการออมเงินของคุณและเป็นที่ปรึกษาพูดคุยกับคุณก็ยังดี เพราะบางทีคุณอาจจะได้รับความคิดดีๆจากคนอื่นขึ้นมาบ้างก็ได้

 

คงไม่มีใครที่มีความฉลาดทางการเงินมาตั้งแต่เกิด แต่คนเราสามารถเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงกันได้ในทุกๆเรื่อง และเหตุผลหลัก 2 ประการที่เราเปลี่ยนไปก็คือ “เรามีเป้าหมายและเรามีความจำเป็น” เหตุผลที่ทำให้เรามีความคิดที่เปลี่ยนไปนั่นก็คือ “เป้าหมาย” ของเรา หากเรานึกถึงภาพของชีวิตใหม่ๆที่มีแต่ความสุขความสบายใจในการใช้เงินอย่างอิสระโดยปราศจากหนี้สิน ก็จะทำให้เราเปลี่ยนอุปนิสัยเดิมๆและสามารถทำให้ฝันเป็นจริงได้ แต่บางคนสามารถทำได้เพราะมีเหตุที่ “จำเป็น” บางอย่าง ซึ่งถ้าหากผลลัพธ์มันทำให้หนี้สินหมดไปและการออมเงินทำได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใดๆก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีด้วยกันทั้งนั้น