วันพฤหัสบดี, 9 มกราคม 2568

5 วิธีแก้ปัญหา จ่ายหนี้ไม่ไหว

09 ก.ค. 2017
2165

บัตรเครดิต

 

หมุนเงิน หมุนแล้วหมุนอีก เอาบัตรนี้มาปิดบัตรโน่น ยืมเงินจากคนอื่นมาจ่ายก็แล้ว ก็ไม่มีทีท่าจะว่าหนี้จะหมดสักที แต่ใจหนึ่งก็ยังอยากเป็นลูกหนี้ที่ดีอยู่ ใจหนึ่งก็อยากประนอมหนี้ จะน่ากลัวแค่ไหนหากต้องไปศาล แล้วจะมีวิธีไหนกันบ้างที่จะเป็นทางออก และทางเลือกที่ดีให้กับเราได้ 5 คำตอบจากกูรู อาจช่วยคุณได้ ไปดูกัน

 

1.ไปศาลตามหมายนัดเพื่อทำสัญญาประนีประนอม

หากตอนนี้ท่านไม่สามารถชำระหนี้ตามสัญญาประนอมหนี้ดังกล่าวได้  ก็อาจจะรอให้เจ้าหนี้ดังกล่าวฟ้องคดีต่อศาล และหากท่านได้รับหมายศาลแล้ว แนะนำให้ท่านไปศาลในกำหนดนัดแรก ซึ่งศาลจะให้เจ้าหนี้ลูกหนี้ได้เจรจาไกล่เกลี่ย โดยท่านอาจจะขอลดดอกเบี้ยและขอผ่อนชำระรายเดือน โดยจะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ตามปพพ.มาตรา 850 มาตรา 852 ปวิพ.มาตรา 138 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อลูกหนี้ มากกกว่าการไม่ไปศาล แล้วถูกเจ้าหนี้บังคับคดีอายัดเงินเดือนหรือยึดทรัพย์สินได้ ทั้งนี้ตามปวิพ.มาตรา 271 มาตรา 275 มาตรา 285 มาตรา 286

โดย : ทีมงานทนายคลายทุกข์

 

2.รีบเข้าสู่ขั้นตอนของการประนอมหนี้

2.1 อย่างแรกเลยคือหยุดก่อหนี้เพิ่ม

รายได้เราไม่พอจ่ายแม้แต่หนี้เก่า ดังนั้นให้เราตัดบัตรเครดิตทิ้งไปเลยไม่มีการใช้จ่ายเพิ่ม ต่อไปก็ให้หยุดจ่ายคืนบัตรเครดิตทุกใบขั้นต่ำก็ไม่ต้องจ่ายเพราะไหน ๆ ก็ไม่พออยู่แล้ว และไม่ต้องคิดว่าเครดิตเราจะเสีย หนี้เราจะกลายเป็นหนี้เน่า ชื่อเราจะต้องเป็นแบล็กลิสต์อยู่ในเครดิตบูโร อนาคตปล่อยไปก่อนเอาตอนนี้ให้รอด

2.2 เริ่มทำบัญชีรายรับรายจ่าย

ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เงินที่เหลือให้เก็บไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อเตรียมพร้อมจ่ายคืนเป็นเงินก้อนหลังจากการประนอมหนี้กับธนาคารสำเร็จ ช่วงที่หยุดจ่ายไปก็จะมีโทรมาทวงหนี้จากทางธนาคาร ช่วงนี้ขอให้อดทนไว้ แรก ๆ จะเป็นการทวงหนี้ปกติ และค่อย ๆ โหดขึ้น รบกวนชีวิตเรามากขึ้น พอผ่านไปครบ 3 เดือน ก็อาจมีจดหมายมาตามทุกที่อยู่ที่เราแจ้งไว้ ให้เราเล่าเรื่องราวหนี้บัตรเครดิตให้กับครอบครัว เจ้านายและเพื่อนร่วมงานรับรู้ เพราะช่วงของการทวงหนี้อาจมีโทรศัพท์ไปหาคนรอบข้างเรา

โดย : moneyhub.in.th

 

3.ควมคุมค่าใช้จ่าย และอย่าไปเพิ่มหนี้อีกเด็ดขาด

บัตรเครดิตจะให้คุณประโยชน์เมื่อรู้จักใช้มัน แต่ให้โทษสำหรับคนใช้เงินเกินตัว ฟุ่มเฟือยแบบไร้สาระตามกระแสนิยม โดยเฉพาะบางกลุ่มเด็กยุคใหม่ที่เข้าวัยเริ่มทำงาน เงินเดือนบางคนหมื่นกว่าบาทเอง คิดอยากหรูใช้ของแพง ใช้จ่ายแบบไม่ยั้งคิด เช่นซื้อมือถือแพงๆ ใช้ของแบนด์เนม ซึ่งเป็นทัศนะคติที่ผิดอย่างมาก เมื่อเข้าสู่วังวนหนี้ก็จะพันกันยุ่งเหยิงไปหมด

หากแก้ไขไม่ได้ เช่นลดรายจ่าย ชำระขั้นต่ำให้ตรงกำหนด หารายได้เพิ่ม บอกผู้ปกครองให้รับทราบเพื่อหาทางออก ก็จะมีโอกาสหนี้เสีย โดนฟ้องเรียกชำระหนี้ ติดชื่อเสียในเครดิตบูโร  ถูกออกจากงาน ทำงานแบบหงุดหวิดไม่เป็นสุข และอาจมีโอกาสทำผิดเพลาดในชีวิตตนเอง โดยเฉพาะเด็กสาวๆ เมื่อสร้างปัญหาขึ้นมา ต้องยอมรับรู้ปัญหา หาทางแก้ปัญหาในทางที่เหมาะสม เรียนแก้ด้วยตนเอง จำเป็นบทเรียนไว้

ผมแนะนำว่าให้บอกผู้ปกครองก่อนที่จะสายเกินไป เพื่อรับทราบปัญหาและช่วยเร่งแก้ไข รวมทั้งส่วนตัวต้องเริ่มควบคุมรายจ่าย และอย่าสร้างหนี้เพิ่มเด็ดขาด หารายได้ในเส้นทางที่ถูกที่ควร เพื่อนำเงินมาลดภาระหนี้ อาจใช้เวลา 3-5 ปี จนกว่าหมดหนี้

โดย : pantip.com : สมาชิกหมายเลข 1071647

 

 

4.แก้ปัญหาจากเรื่องเล็ก ๆ น้อยๆ ใกล้ตัวก่อน ถ้าไม่ไหวต้องบอกพ่อแม่ให้ช่วย ก็ต้องทำ

4.1. วิเคราะห์ก่อนว่ามีรายจ่ายอะไรที่จำเป็น และเป็นค่าใช้จ่าย Fix บ้าง เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ

4.2. แยกค่าใช้จ่ายหลักออกไป เหลือค่าใช้จ่ายที่ปรับลดได้ให้ลด เช่น จากมีมือถือ 2 เบอร์ ก็ปิด 1 เบอร์ หรือ กินข้าว ตามด้วยขนม หรือ ชานม ให้เลิกกินขนมเหล่านั้น (ผอมด้วย)  พวกเสื้อผ้า หมดหนี้แล้วค่อยซื้อ

4.3. ถ้าทำ 1+2 แล้วยังมีค่าใช้จ่ายมากกว่าเงินเดือนที่เราได้รับ แสดงความต้นทุนชีวิตคุณสูงกว่าเงินที่คุณได้ อันนี้ต้องหางานใหม่หรือทำงานพิเศษเพิ่ม

4.4. เอาของที่มีอยู่แปลงเป็นเงิน แล้วโปะนี้หนี้ให้เร็ว เช่น มือถือเครื่องเก่า ไม้แบด จักรยาน ขายไปให้หมด  พี่เคยช่วยแฟนเอาเสื้อผ้าที่มีไปขาย ขายตัวละ 50-100 บาท ไปสองวันขายได้ 6,000 บาท

4.5. ยืมคนอื่นมาจ่ายก่อน ก็เป็นวิธีที่ทำได้ แต่ถ้าไม่เปลี่ยนพฤติกรรม หนี้มันจะกลับมา

4.6. พ่อแม่ เป็นด้านสุดท้ายถ้าไม่ไหวจริงๆ เพราะคนเป็นพ่อแม่อาจจะคิดว่าลูกเอาตัวเองไม่รอด เราควรให้เงินท่านด้วยซ้ำ ไม่ใช่ไปขอเงินจากท่าน แม้ท่านจะเต็มใจช่วยก็เถอะ

4.7. บัตรเครดิตเป็นดาบสองคม ถ้าเราควบคุมมันได้ มันจะเป็นเครื่องมือที่ดี  แต่ถ้าเราคุมตัวเองไม่ได้ เราจะเป็นทาสมันแทน

โดย : pantip.com : สมาชิกหมายเลข 1663843

 

5.พยายามจ่ายตามวงเงินขึ้นต่ำ ถ้าไม่ไหวก็เข้าสู่กระบวนการของกฏหมายตามลำดับต่อไป

สำหรับแนวทางที่ดีที่สุดคือ หากปัญหาหนี้ไม่มากนักให้เลือกชำระขั้นตามวงเงินขั้นต่ำ หากภาระหนี้จำนวนมากแนะนำให้หยุดการชำระนี้ทันที เพื่อรอให้ศาลเป็นผู้พิจารณาซึ่งจะใช้เวลาอีก 4-5 เดือน เพื่อใช้เวลาในช่วงดังกล่าวเก็บเงินเป็นกองทุนเพื่อชำระหนี้บัตรเครดิตต่าง ๆ ภายหลัง โดยลูกหนี้ที่หยุดชำระหนี้ ระยะเวลาฟ้องร้องที่เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิในการฟ้องร้อง คือหากเป็นหนี้บัตรเครดิต ระยะเวลา 2 ปี หนี้สินเชื่อบุคคล 5 ปี หนี้ระหว่างบุคคลทั่วไป 10 ปี

ส่วนการยึดทรัพย์นั้น ทรัพย์สินที่เป็นของเครื่องใช้ในครัวเรือนที่จำเป็นในการดำรงชีวิต มูลค่ารวมกัน 50,000 บาทแรกห้ามเจ้าหนี้ยึด เช่น โต๊ะรับประทานอาหาร เก้าอี้ โทรทัศน์ เครื่องครัว แต่หากเป็น สร้อย แหวน นาฬิกา สามารถยึดได้ ส่วนกรณีลูกหนี้มีเงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาทต่อเดือน ห้ามเจ้าหนี้ทำการอายัด แต่ภาระหนี้ไม่ได้หมดไป เพียงแต่ชะลอไว้ก่อน หากลูกหนี้เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำส่วนราชการ ห้ามเจ้าหนี้อายัดเงินเดือน

โดย : www.astvmanager.com