แคปชั่น คำคม ภาษาอังกฤษ เพื่อน ความรัก คิดบวก ฮวงจุ้ยบ้าน

พนักงานราชการ พนักงานเอกชน ทุกคนออมเงินได้ทั้งสิ้น

 

 

สำหรับเด็กจบใหม่ที่กำลังมองหางานอยู่ในขณะนี้ ก็คงจะมีข้อสงสัยต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับการทำงานระหว่างพนักงานราชการและพนักงานเอกชนว่ามันมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง และในส่วนของผู้ที่เป็นพนักงานเอกชน และราชการอยู่แล้ว ก็คงจะสงสัยในเรื่องของการออมเงินเช่นกันว่ามันแตกต่างกันอย่างไร เพราะฉะนั้นเราจะจับปัญหาทั้งสองเรื่องนี้มัดรวมกัน เพื่อนำมาเสนอให้เข้าใจกันในเบื้องต้นกันเลย

 

ความแตกต่างระหว่างพนักงานราชการ VS พนักงานเอกชน

 

การออมเงินระหว่าง พนักงานราชการ VS พนักงานเอกชน

ทีนี้ก็มาเข้าเรื่องของการออมเงินกันเสียที หลังจากที่เราได้อธิบายไปแล้วถึงความแตกต่างระหว่างพนักงานเอกชน และพนักงานราชการ ซึ่งน่าจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นในเรื่องของรายได้และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งดูเหมือนเอกชนจะเสียเปรียบอยู่พอสมควร เพราะฉะนั้นก็ต้องมาดูกันว่าจะเก็บออมอย่างไรให้อยู่รอดไปถึงบั้นปลายของชีวิตให้ได้

 

การออมเงินของพนักงานราชการ

สำหรับราชการเรารู้กันอยู่แล้วว่า มีเงินบำนาญรออยู่แน่นอนตอนเกษียณ และยังมีสวัสดิการต่าง ๆ เพื่อคนในครอบครัว แต่ก็ใช่ว่าเราจะไม่เก็บออมใด ๆ เลย เพราะบางอย่างก็อยู่นอกเหนือไปจากสวัสดิการ เช่น การส่งลูกเรียนโรงเรียนเอกชน หรือการเจ็บป่วยบางอย่างที่ไม่ครอบคลุมในสวัสดิการ สิ่งเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้โดยที่คุณไม่สามารถวางแผนได้ เพราะฉะนั้นเราขอนำการออมสำหรับราชการดังต่อไปนี้

เปิดบัญชีออมทรัพย์แบบ “พิเศษ” – การออมประเภทจะเป็นการบังคับให้มีการฝากเงินเข้าเป็นประจำ แลกกับดอกเบี้ยที่สูงเป็นพิเศษกว่าการฝากแบบออมทรัพย์ทั่ว ๆ ไป ระยะเวลาก็แล้วแต่ความต้องการ เช่น 12 เดือน 24-36 เดือน ซึ่งเราสามารถกำหนดขั้นต่ำเองได้ว่าต้องการฝากเริ่มต้นที่เท่าไร

กองทุนรวม – เป็นวิธีที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เงินของคุณงอกเงยขึ้น เพราะข้าราชการมีสวัสดิการต่าง ๆ คุ้มครองอยู่แล้ว คุณจึงสามารถแบ่งเงินบางส่วนออกมาเป็นเงินเย็นที่เอาไว้ลงทุนอย่างเดียวไม่ใช้จ่ายอะไรได้ ซึ่งการฝากเงินโดยการลงทุนในกองทุนรวมสามารถสร้างดอกเบี้ยได้สูงสุดถึงร้อยละ 8 เลยทีเดียว

 

การออมเงินของพนักงานเอกชน

ส่วนเอกชนนั้น ปัญหาที่เรารู้กันดีคือไม่มีเงินบำนาญเก็บออมในระยะยาวเหมือนกับราชการ เราจึงต้องวางแผนการเงินให้มีเงินเพียงพอต่อการใช้ในส่วนนี้ ซึ่งเราขอแนะนำวิธีดังต่อไปนี้

การแยกเงินออมออกจากเงินเก็บ – แน่นอนว่าเอกชนย่อมให้เงินเดือนที่สูงกว่าราชการอยู่แล้ว เราจึงสามารถแบ่งเงินออกมา 15 – 20% จากเงินเดือนทั้งหมดของทุกเดือนเพื่อนำมาใช้ในการลงทุนได้ จากนั้นจึงทยอยแบ่งเงินออมส่วนนี้ไปลงทุนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

แผนประกันสุขภาพ – จะทำแบบระยะสั้น หรือระยะยาวก็ได้ แล้วแต่ความพอใจของแต่ละบุคคล เหตุผลที่ต้องทำเพราะประกันสังคมไม่ได้ครอบคลุมโรคทั้งหมด และคุณไม่มีสวัสดิการเหมือนรัฐบาล ถ้าหากแบ่งออมไว้ในส่วนนี้คุณจะสบายขึ้นอีกเยอะเมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้น

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ – หากบริษัทที่ทำงานอยู่มีกองทุนนี้ ก็ให้ฝากให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะมีผลตอบแทนเมื่อฝากเยอะ ๆ และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย เรียกว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับพนักงานเอกชน

การลงทุนต่าง ๆ – ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ อสังหา เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้มีผลตอบแทนที่ดีหากเราเข้าใจมัน จะได้เป็นรายได้แบบ Passive Income อีกทางหนึ่ง

 

การออมเงินล้วนสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เพียงเลือกรูปแบบการออมให้เหมาะกับตนเองและมีความพยายามสักนิด ก็จะประสบความสำเร็จในการออมได้ไม่ยากแน่นอน

Exit mobile version