นักวิจัยพบว่า การกินอาหารบางอย่างส่งผลให้เรามีสุขภาพดี มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ช่วยชะลอกระบวนการเสื่อมโทรมของเซลล์และเนื้อเยื่อให้ดำเนินไปช้าลง นักวิจัยแนะนำให้เรากินอาหารหลากหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวก ผลไม้ ผัก และธัญพืช เพื่อว่าร่างกายจะได้รับสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นอย่างเพียงพอ
วิตามินช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง บำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง และชุ่มชื่น รักษาเล็บและผมให้แข็งแรงและเงางาม นอกจากนี้ วิตามินยังช่วยให้ร่างกายสามารถนำเอาพลังงานจากอาหารที่ร่างกายรับเข้าไปมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในขณะที่แร่ธาตุช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างเป็นปกติสุข
ต่อไปนี้เป็น 7 อาหารที่ทำให้แลดูอ่อนกว่าวัยอย่างยั่งยืน
1.ผักและผลไม้สด
จากการศึกษาพบว่า การกินผักและผลไม้สด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักและผลไม้ที่มีสีเข้มในปริมาณมากได้อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสื่อมโทรมของเซลล์และเนื้อเยื่อของผิวพรรณได้ อาหารในแต่ละวันควรประกอบด้วยผักสดร้อยละ 25-30 หากไม่ชอบกินผักสด คุณอาจปรุงผักสดดังกล่าวด้วยการตุ๋น นึ่ง ต้ม อบ โดยใช้แรงดันเพื่อรักษาคุณค่าทางอาหารเอาไว้ก็ได้ ผักและผลไม้มีคุณสมบัติในการช่วยลดกระบวนการร่วงโรยและความเสื่อมโทรมของอวัยวะต่างๆ รวมไปถึงผิวพรรณได้อย่างดีเยี่ยม เนื่องจากผักและผลไม้มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) และสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากผักและผลไม้อย่างเต็มที่ ควรกินผักและผลไม้ที่สด หลากหลายชนิด และหลากหลายสีสัน เม็ดสีบางชนิดที่พบในผักและผลไม้ เช่น ไลโคปีน (Lycopebe) ที่มักพบในมะเขือเทศ แตงโม และสารแอนโธไซยานิน (Anthocyanin) ที่มักพบในบลูเบอร์รี่จะมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ดีเยี่ยม ช่วยป้องกันดีเอ็นเอและเซลล์จากการทำลายของสารพิษและของเสียซึ่งจะนำไปสู่การกลายพันธุ์ของเซลล์ได้ในที่สุด นักวิจัยจำนวนมากออกมาแนะนำให้ผู้ป่วยกินผักและผลไม้ 9 ชนิดต่อวันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งให้น้อยลง ในขณะที่นักโภชนาการบางท่านกล่าวว่า ความหลากหลายของผักและผลไม้ที่กินในแต่ละวัน มีความสำคัญต่อการมีสุขภาพดี เนื่องจากผักและผลไม้ที่มีความหลากหลายจะให้สารอาหารที่แตกต่างกัน ซึ่งนั่นจะช่วยเติมเต็มสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายขาดไป
มีการวิจัยพบว่า หากกินผักและผลไม้เพียงชนิดเดียวในปริมาณมาก ร่างกายจะได้รับสารอาหารเพียงไม่กี่อย่าง และวิธีที่จะช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าได้รับสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุจากผักและผลไม้อย่างครบถ้วนคือการกินอาหารที่มีสีสันหลากหลายหลายสีของรุ้งกินน้ำ เพื่อให้ได้อาหารที่มีสีสันหลากหลายและมีสรรพคุณในการต่อต้านความเสื่อมโทรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้กินผักและผลไม้ที่มีสีเข้ม เช่น
- บล็อคโคลี่
- มันเทศ
- ฟักทอง
- พริก
- มะเขือม่วง
- กล้วย
- ส้ม
- กะหล่ำปลี
- ผักโขม
- แครอท
- ผลเบอร์รี่ชนิดต่างๆ
ที่น่าสนใจได้แก่
- แครอท
- หัวหอม
- กะหล่ำปลี
- หัวไช้เท้า
- หัวผักกาดแดง
- ใช้เท้าเขียว
- ถั่วฝักยาว
- ผักป่าเบอร์ดอก
- รากบัว
- ผักกาดหอม
- แตงกวา
- กะหล่ำดอก
- บร็อกโคลี
- บรัสเซลสเปราต์
- ผักกาดขาวปลี
- ผักกวางตุ้ง
- เห็ด
- เห็ดหอมแครอทเขียว
- ผักกาดหัวเขียว
- ฟักทอง
- ผักคะน้า
- ผักชีฝรั่ง
- ต้นกระเทียม
- หัวกระเทียมที่ยังไม่แก่เต็มที่
- เซเลอรี
- ถั่วลันเตากะหล่ำปลีสีม่วง
ควรหลีกเลี่ยงอาหารในเขตร้อนเว้นเสียแต่ว่าคุณอาศัยอยู่ในเขตร้อน เช่น
- ซุกินี
- มันฝรั่ง
- มะเขือเทศ
- พริกไทยเขียว
- พริกไทยแดง
- หน่อไม้ฝรั่ง
- ปวยเล้ง
- มันเทศ
- หัวบีต
- มันฝรั่งหวาน
- อะโวคาโด
- อาร์ติโชค
เนื่องจากพืชผักเหล่านี้ทำให้เกิดกรด และควรกินผลไม้สด 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เลือกผลไม้ตามฤดูกาลที่ปลูกในท้องถิ่น ให้กินผลไม้ในปริมาณปานกลางและเป็นครั้งคราวในฤดูกาลผลไม้นั้นๆ ผลไม้ที่น่าสนใจ ได้แก่
- สตอเบอรี่
- พรุน
- หม่อน
- เชอรี่
- แอปเปิ้ล
- องุ่น
- พีช
- แพร์
- พลัม
- แตงโม
- ส้มจีน
- แอพพลิคอต
- แคนตาลูป
ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนควรงดหรือจำกัดปริมาณของผลไม้บางจำพวกลงได้แก่ อินทผลัม สับปะรด มะม่วง มะละกอ มะพร้าว มะเดื่อ กล้วย ส้ม และกีวี่
2.ธัญพืช
กินธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี เนื่องจากเป็นหนึ่งในอาหารที่ได้สมดุล มีเส้นใยอาหารสูง มีสารอาหารที่จําเป็นอยู่อย่างครบถ้วน และมีสรรพคุณในการป้องกันโรคภัยที่เกิดจากความเสื่อมโทรมได้เกือบทุกรูปแบบ กินธัญพืชหลายชนิดผสมกัน จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน เพิ่มกำลังวังชา ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า เสริมภูมิคุ้มกันทำให้ระบบต่างๆ ทำงานอย่างเป็นปกติ ซึ่งนั่นหมายรวมถึงผิวพรรณด้วยเช่นกัน
ในอาหารที่กินประจำวันประมาณร้อยละ 50 – 60 ควรประกอบไปด้วยธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี อันได้แก่ ข้าวจ้าว ข้าวหอมมะลิ ข้าวโพด ข้าวบัควีต ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ข้าวกล้อง ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ปรุงข้าวเหล่านี้ด้วยภาชนะหุงต้มสแตนเลสที่ใช้แรงดัน เพื่อรักษาคุณค่าทางสารอาหารเอาไว้ อาหารจำพวกข้าว หรือธัญพืชควรกินในรูปของเมล็ดข้าวเต็มๆ ไม่มีการดัดแปลง หรือได้รับการบดจนกลายเป็นแป้ง หรือนำไปทำเป็นขนมปัง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งแปรรูปเหล่านี้จะย่อยยากและก่อให้เกิดมะเร็งได้ง่ายกว่าข้าวเต็มเมล็ดที่ไม่ผ่านกระบวนการใดๆ เลย ธัญพืชที่ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งกระเพาะปัสสาวะมะเร็งไต และมะเร็งเต้านม ให้น้อยลงได้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำมให้กินธัญพืชที่ไม่ผ่านการแปรรูปอาทิตย์ละ 3 – 4 ครั้ง เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์ในการต้านมะเร็งอย่างเต็มที่
ผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชาวนอร์เวย์ พบว่าผู้ที่กินธัญพืชที่ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปในปริมาณมากและอย่างสม่ำเสมอ จะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งและโรคหัวใจลดลงเกือบร้อยละ 25 การทดลองที่ทำโดย Mayo Clinic ในปี 2001 พบว่าผู้ที่กินซีเรียลที่มีเส้นใยอาหารสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารน้อยลง นักโภชนาการแนะนำให้ผู้ป่วยของเขากินซีเรียลที่มีเส้นใยอาหารสูง และธัญพืชที่ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปให้มีความหลากหลาย โดยแนะนำว่าในแต่ละวันควรได้รับซีเรียลหรือธัญพืชดังกล่าว 4-5 หน่วย
3.ถั่วและผักทะเล
จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า การบริโภคถั่วบางชนิดอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้น้อยลง มีการพบว่าถั่วเหลืองนอกจากจะเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญแล้ว ยังมีสรรพคุณในการลดอัตราการเกิดเนื้องอกให้น้อยลงด้วยเช่นกัน ถั่วเหลืองและถั่วบางชนิดมีสารช่วยป้องกันการเกิดเนื้องอกในเต้านม กระเพาะอาหาร และผิวหนัง นอกจากนี้ยังมีการพบว่า สาหร่ายทะเลมีสรรพคุณในการขจัดสารกัมมันตภาพรังสีออกจากร่างกายอีกด้วย
ประมาณร้อยละ 5-10 ของอาหารประจําวันควรประกอบไปด้วย ผักทะเลและถั่ว ได้แก่
- ถั่วอาซูกิ
- ถั่วเตอร์เติลสีขาวและดำ
- ถั่วเขียว
- ถั่วแขก
- ถั่วลิมา
- ถั่วสปลิท
- ถั่วแบล็กอาย
- ถั่วเหลือง
- ถั่วปินโตะ
- ถั่วแดง
- วุ้น
- เต้าหู้
- เทมเปะ
- มิโสะ
- คอมบุ
- ซีอิ๊วทามาริ
- นัตโตะ
- วากาเมะ เป็นต้น
ธัญพืช ถั่ว หรือหัวพืชที่ฝังอยู่ในดินจะมีทั้งเส้นใยที่ละลายในน้ำ และไม่ละลายในน้ำ ที่จะช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบฮอร์โมนในร่างกายให้เป็นปกติ ช่วยลดปริมาณของสารพิษและของเสียที่ร่างกายได้รับจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ
เพื่อที่จะป้องกันมะเร็งและความเสื่อมโทรม ให้กินข้าวโอ๊ต ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวบัควีต และข้าวสาลีเนื่องจากมีฤทธิ์ต้านการต่อตัวของเนื้องอก ต้านเชื้อไวรัส และขาดสารก่อมะเร็ง กินถั่วและเมล็ดพืช เช่น เมล็ดป่าน เพราะมีฤทธิ์ในการต้านการก่อตัวและการกระจายตัวของเชื้อมะเร็ง นอกจากสีของถั่วจะมีประโยชน์ในการต้านการเกิดมะเร็งแล้ว ผิวของพืชตระกูลถั่วยังมีสารไฟโตเคมีคอล (Phytochemicals) ที่ทำหน้าที่ในการป้องกันเซลล์และเนื้อเยื่อจากสารก่อมะเร็งได้อีกด้วย
กินบร็อคโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และคะน้า เนื่องจากมีสารซัลฟอราเฟน (Sulforaphane) ซึ่งทำหน้าที่ในการเสริมสร้างการทำงานของตับ ในการขจัดสารก่อมะเร็ง หากปราศจากสารชนิดนี้ตับจะต้องทำงานอย่างหนักจนไม่อาจขจัดสารก่อมะเร็งดังกล่าวให้หมดไป ซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งได้ในที่สุด เพื่อที่จะห่างไกลจากโรคมะเร็งและความเสื่อมโทรมของร่างกาย ผู้เชี่ยววชาญแนะนำให้กิน
- บร็อคโคลี
- กะหล่ำปลี
- ขิง
- แครอท
- ชาเขียว
- ข้าวโอ๊ต
- ข้าวไรย์
- ข้าวบาร์เลย์
- มะเขือเทศ
- บลูเบอร์รี่
- ถั่วเลนทิล
- ถั่วลิสง
- ข้าวแดง และข้าวกล้องให้มาก
4.เนื้อสัตว์
กินเนื้อปลาสีขาวหรืออาหารทะเล 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หลีกเลี่ยงการกินปลาเนื้อแดง หรือปลาที่มีหนังสีน้ำเงิน เนื่องจากจะมีไขมันมากกว่าปลาเนื้อขาว หลีกเลี่ยงการกินปลาน้ำจืด เนื่องจากมีสารพิษสะสมอยู่ในเนื้อมากกว่าปลาทะเล หลีกเลี่ยงการกินหรือจำกัดปริมาณในการกิน หากต้องกินเนื้อสัตว์จำพวกห่าน ไก่ฟ้า วัว ลูกวัว ไก่ แกะ หมู ไก่งวง เป็ด รวมไปจนถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ เช่น ไข่ ไขมัน เนยแข็ง เนย โยเกิร์ต ไอศครีม นม นมสกัด ครีม และเนยเทียม เป็นต้น
นอกจากอาหารจำพวกผัก ผลไม้ และธัญพืชแล้ว ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำให้กินอาหารจำพวกโปรตีนที่มีคุณภาพให้มาก โปรตีนให้กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยสร้างเซลล์ใหม่ ซ่อมแซมเซลล์และเนื้อเยื่อที่สึกหรอ ช่วยให้แผลหายเร็ว สร้างฮอร์โมนและเอนไซม์ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง หากร่างกายได้รับโปรตีนในปริมาณที่ไม่เพียงพอกับความต้องการร่างกาย จะต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยและร่างกายมีแนวโน้มที่จะกลับมาป่วยได้อีก
แหล่งโปรตีนคุณภาพดี ได้แก่ เนื้อสัตว์ไร้มัน ปลา ไก่ ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ธัญพืชถั่วเมล็ดแห้งชนิดต่างๆ เนื้อสัตว์เป็นแหล่งของโปรตีนและกรดไขมัน (Fatty Acid) ที่ร่างกายต้องการเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและสร้างพลังงานเนื้อแดงมีธาตุเหล็ก (Iron) ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิง
นอกจากเนื้อวัว แหล่งของโปรตีนที่สามารถกินได้ เช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา ไข่ หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากถั่วชนิดต่างๆ ก็เป็นแหล่งของโปรตีนและธาตุเหล็กคุณภาพดี ที่สามารถทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ อย่างไรก็ตามแม้ว่าเนื้อวัวจะเป็นแหล่งของโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ แต่นักโภชนาการมักแนะนำให้ผู้ป่วยกินเนื้อปลา เนื้อไก่ หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากถั่ว เช่น โปรตีนเกษตร เต้าหู้ เพื่อหลีกเลี่ยงคลอเลสเตอรอล (Cholesterol)และไขมันชนิดอิ่ม (Saturated) ตัวที่มีอยู่มากเกินไปในเนื้อวัว
5.น้ำมัน
หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว (Saturted Fat) ที่ได้จากสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมรวมไปจนถึงไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fat) ที่อยู่ในเนยเทียมและน้ำมันปรุงอาหารบางชนิด จากการศึกษาพบว่าไขมันหรือน้ำมันเป็นหนึ่งในอาหารที่ก่อให้เกิดโรคไตและความเสื่อมโทรมมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งและโรคหัวใจควรเลือกน้ำมันที่ไม่ผ่านการกลั่น หรือกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ น้ำมันปรุงอาหารที่คุณสามารถใช้ได้ทุกวัน ได้แก่ น้ำมันเมล็ดมัสตาร์ด น้ำมันงา น้ำมันข้าวโพด แต่อย่าใช้มากจนเกินไป สำหรับน้ำมันที่ผ่านกระบวนการกลั่นให้บริสุทธิ์ เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน ควรใช้เป็นครั้งคราว
หลีกเลี่ยงน้ำมันที่ผ่านกระบวนการทางเคมี เช่น เนย น้ำมันหมู น้ำมันพืช หรือเนยเทียมที่ทำจากถั่วเหลือง ไขมันให้กรดไขมันที่จำเป็นต่อการเติบโตของร่างกาย การสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อใหม่ และการสร้างฮอร์โมน ไขมันยังเป็นตัวช่วยละลายวิตามินบางชนิด ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำมัน ทำให้ร่างกายสามารถดูดซับเอาวิตามินเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ใขมันยังทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะจากการบาดเจ็บต่างๆ เมื่อร่างกายรับแคลอรี่มากเกินความต้องการ ร่างกายจะเก็บสะสมแคลอรี่ส่วนเกินนั้นไว้ในรูปของไขมัน สำหรับสงวนเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น ไขมันอีก 2 ชนิดที่เหลือได้แก่ ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโมเลกุลเดี่ยว (Monounsaturated Fat) และไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหลายโมเลกุล(Polyunsaturated Fat) ซึ่งมักพบในอาหารจำพวกพืช เช่น ผัก ถั่ว ธัญพืช รวมไปจนถึงน้ำมันที่ทำมาจากถั่วและธัญพืชบางชนิด เช่น คาโนลา (Canola) ข้าวโพด และถั่วเหลือง กรดไขมันโอเมก้า 3 และกรดไขมันโอเมก้า 6 ก็จัดว่าเป็นไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหลายโมเลกุล ที่นอกจากจะพบในผัก ถั่ว และธัญพืช แล้วยังพบในปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำเย็น เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอนและปลาแมคเคอเรล
จากงานวิจัยบางชิ้นพบว่า การกินอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโมเลกุลเดี่ยว และชนิดหลายโมเลกุลจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดเลวให้ต่ำลง และยังช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ให้ต่ำลงด้วย
6.กินกะเพราทุกวัน
กินกะเพราทุกวัน ช่วยลดไขมันเลว เพิ่มไขมันดี ลดความดัน ลดความเสี่ยงหลอดเลือดอุดตัน และช่วยรักษาโรคเบาหวาน ผัดกะเพรา เมนูยอดฮิตที่หลายคนมักด่าว่าเป็นเมนูสิ้นคิด เพราะส่วนใหญ่เวลานึกไม่ค่อยออกจะสั่งอะไรกินก็มักจะเทใจไปให้ผัดกะเพรา สำหรับสรรพคุณที่เราคุ้นเคยกันก็คือ การช่วยขับลมและทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากกะเพราจะช่วยขับลมแล้ว ยังมีผลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ใบกะเพรายังมีสรรพคุณในการช่วยลดไขมันและน้ำตาลได้อย่างดีทีเดียว
งานวิจัยแรกได้ทำการทดลองกับกระต่าย โดยให้อาหารผสมใบกะเพราประมาณ 1-2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ เมื่อนำกระต่ายมาเจาะเลือดตรวจดูพบว่า ระดับคอเลสเตอรอล โดยเฉพาะคอเลสเตอรอลรวม รวมถึงไตรกลีเซอไรด์ลดลงอย่างมาก ในขณะเดียวกันคอเลสเตอรอลตัวดีก็เพิ่มขึ้นด้วย ส่วนงานวิจัยชิ้นหนึ่งศึกษาในหนูทดลอง 3 ประเภท ด้วยกันคือหนูปกติ หนูที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากการให้กลูโคส และหนูที่เป็นเบาหวานจากการทำลายตับอ่อน โดยในการทดลอง ได้ให้ผงใบกะเพราขนาด 200 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน พบว่า ใบกะเพราสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองทั้ง 3 ประเภทได้ ที่สำคัญในใบกระเพรายังมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยทำให้กลไกการควบคุมน้ำตาลในเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทดลองนี้คือบทพิสูจน์ว่า ใบกะเพรามีฤทธิ์ในการรักษาโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังพบว่าสารในใบกะเพรายังช่วยลดการทำลายผนังหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดอุดตัน รวมถึงช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูงได้อีก
7.กระเจี๊ยบเพิ่มไขมันดี
โรคหัวใจมีสาเหตุหลายประการ โดยเฉพาะจากภาวะไขมันในเลือดสูง เกิดจากการสะสมของไขมันเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดก้อนไขมันเกาะและอุดตันอยู่บริเวณหลอดเลือดหัวใจ เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวและหากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดภาวะขาดเลือด ก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตในที่สุด ผู้ที่ประสบภาวะไขมันในเลือดสูงมักจะไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่มีอาการแสดงออก แต่รู้ได้ด้วยการสอบเลือดตรวจ และเมื่อทราบว่าป่วย มีภาวะไขมันในเลือดสูงก็จำเป็นต้องรับประทานยาลดไขมัน ซึ่งมีความเป็นพิษต่อตับสูง ทั้งยังเป็นยานำเข้าที่มีราคาสูงถึงเม็ดละ 60 บาท ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องกินต่อเนื่อง
รศ.ดร. เนตรนภิส ธีระวัลย์ชัย ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษาคุณสมบัติของกระเจี๊ยบแดงต่อการเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (เอชดีแอล) และยับยั้งคอเลสเตอรอลชนิดเลว (แอลดีแอล) จนพบว่า สารสกัดกระเจี๊ยบแดงออกฤทธิ์ยับยั้งไขมันตัวร้าย และเพิ่มปริมาณไขมันดีอย่างเห็นได้ชัด จึงเหมาะนำไปพัฒนาเป็นยาลดไขมันในเลือดได้ในอนาคต จากผลที่ได้ในห้องปฏิบัติการเป็นที่น่าพอใจ ทำให้ทีมวิจัยต้องเดินหน้าต่อเพื่อศึกษาเชิงลึก โดยจะปรับเปลี่ยนระบบเลี้ยงเซลล์ในจานเพาะให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อดูการตอบสนองอาทิเช่น ประสิทธิภาพและระยะเวลาในการยับยั้งไขมันตัวร้าย ตลอดจนความเป็นพิษต่อเซลล์ นอกจากนี้ทีมวิจัยได้วางแผนที่จะทดลองเพื่อวัดผลในสัตว์ ด้วยการฉีดสารสกัดในกระต่ายหรือหนู หากงานวิจัยในขั้นตอนดังกล่าวสำเร็จ ก็จะนำไปสู่การวิจัยในคนต่อไป หากทีมงานสามารถพัฒนายาลดไขมันจากสมุนไพรได้สำเร็จ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้มาก และเชื่อว่าหากงานวิจัยชิ้นนี้ประสบความสำเร็จ ก็จะได้ยาลดไขมันจากสมุนไพรเป็นครั้งแรกในโลกเช่นกัน
ที่มาและการอ้างอิง
ศาสตร์แห่งการประทินผิว โดย พิมลพรรณ อนันต์กิจไพศาล
50 วิธี หยุดป่วยด้วยสมุนไพร,นาถศิริ ฐิติพันธ์ เรียบเรียง