แคปชั่น คำคม ภาษาอังกฤษ เพื่อน ความรัก คิดบวก ฮวงจุ้ยบ้าน

น้ำมันปลา หรือ กรดไขมันโอเมกา-3 ลดไขมันในเลือด ช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด Ep.68

 

 

กรดไขมันโอเมกา-3 มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ตับ และระบบประสาทเกี่ยวกับการพัฒนาเรียนรู้ รวมทั้งเกี่ยวกับเรตินาในการมองเห็น นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อโภชนาการและสุขภาพของคนเรา เช่น ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล และไตรเอธิลกลีเซอรอล (triethylglycerol) ในพลาสมา ควบคุมระดับไลโปโปรตีน (lipoprotien) และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและหน้าที่ของเกล็ดเลือด จึงมีแนวโน้มก่อให้เกิดผลดี ในการลดอันตรายของโรคทางเดินหายใจ โรคไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจและโรคซึมเศร้า โอเมกา-3 พบมากในปลาทะเล และ ปลาน้ำจืดบางชนิด

 

เราอยู่แล้วว่าน้ำมันปลามีส่วนช่วยบรรเทาอาการอักเสบ และช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น แต่จริงๆแล้ว น้ำมันปลามีประโยชน์มากกว่าที่คุณเคยรู้ และหากเราได้รับน้ำมันปลาที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันก็จะทำให้คุณและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน น้ำมันปลาคือน้ำมันที่ได้จากกระบวนการสกัดเอาน้ำมันออกมาจากส่วนต่างๆของปลา เช่น เนื้อปลา หนังปลา หางปลา หัวปลา ด้วยปลาทะเลที่นำมาสกัดนั้น เป็นปลาที่อยู่ในทะเลน้ำลึกเขตหนาวเย็น ซึ่งมีกรดไขมันประเภทโอเมก้า 3 ปริมาณมากกว่าปลาน้ำจืด อาทิ ปลาแซลมอน ปลาแอนโชวี่ ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ที่มีไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 สูงถึง 1 – 4 กรัมต่อเนื้อปลา 100 กรัม โอเมก้า 3 ประกอบด้วยกรดไขมันสำคัญคือ EPA และ DHA โดยจากการศึกษาผลวิจัยทางการแพทย์พบว่า น้ำมันปลามีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย ดัง 11 คุณประโยชน์ต่อไปนี้

 

1.ประโยชน์ต่อระบบหัวใจและสมอง โดยมีส่วนช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด และลดไขมันในเลือดจึงช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆโดยเฉพาะหัวใจและสมอง

2.ประโยชน์ต่อระบบหลอดเลือด โดยมีส่วนช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น ลดการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ

3.ประโยชน์เกี่ยวกับความดันโลหิตต่อร่างกาย เนื่องจากโอเมก้า 3 จะมีส่วนช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น ซึ่งมีผลให้ความดันลดลง โดยที่น้ำมันปลา จะไม่มีผลต่อความดันในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติแต่อย่างใด

4.มีส่วนช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ 20 – 50 เปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญคือปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย สามารถใช้ร่วมกับยาในการลดระดับไขมัน ในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงได้

5.ลดอาการข้อเสื่อมข้อรูมาตอยด์ กรดไขมันโอเมก้า 3 มีคุณสมบัติในการช่วยลดอาการอักเสบ อาการตึงแน่น และอาการข้อยึดในตอนเช้า ผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อมและข้ออักเสบรูมาตอยด์เนื่องจาก EPA สามารถลดสารที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ บวมปวดข้อ นอกจากนั้น ยังช่วยเพิ่มการสร้างสารที่มีคุณสมบัติทำให้อาการอักเสบต่างๆของข้อลดลงได้

6.เสริมการทำงานของเซลล์สมอง ป้องกันสมองเสื่อม การรับประทานน้ำมันปลา จะมีส่วนป้องกันโรคสมองเสื่อม หรือโรคอัลไซเมอร์ได้ เพราะในน้ำมันปลามี dha ที่ช่วยเพิ่มสารที่ช่วยลดการสร้างเส้นใยในสมอง อันเป็นตัวทำลายเส้นใยประสาทส่วนความจำ

7.ภาวะซึมเศร้า พบว่าผู้ที่บริโภคประจำอย่างต่อเนื่อง มีอัตราการเป็นโรคซึมเศร้าต่ำ เพราะสมดุลของกรดไขมันในร่างกาย มีผลต่อความรุนแรงของการเกิดโรคซึมเศร้า จากการวิจัยพบว่า คนที่มีระดับกรดไขมันโอเมก้า 3 ต่ำแต่ Omega 6 สูงมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าปกติ

8.มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน โดยนักวิจัยพบว่ากรดไขมัน EPA ในน้ำมันปลาจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้นได้

9.อาการปวดไมเกรน กรดไขมันในน้ำมันปลา จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพรอสตาแกลนดิน และลดการหลั่งสารซีโรโทนิน ทำให้การก่อตัวของหลอดเลือดลดลง ในระยะที่มีการบีบตัวของหลอดเลือดในสมอง จึงอาจช่วยลดการปวดไมเกรนได้

10.อาการหอบหืด การรับประทานน้ำมันปลาจะช่วยลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ และสารสำคัญที่ทำให้เกิดอาการหอบหืด ดังนั้นการรับประทานน้ำมันปลาอย่างต่อเนื่อง จะมีส่วนช่วยบรรเทาอาการหอบหืดได้

11.โรคผิวหนังบางชนิด อาจจะช่วยบรรเทาอาการของโรคผิวหนังได้ เช่นสะเก็ดเงิน โรคเรื้อนกวาง โดยลดอาการคัน ทำให้ผื่นแดงน้อยลง

 

เมื่อทราบถึงคุณประโยชน์นานัปการจากน้ำมันปลาแล้ว อย่าลืมเพิ่มเมนูปลาไว้ในจานโปรดของแต่ละวันด้วย แต่หากคุณไม่ชอบรับประทานปลา หรือไม่สามารถรับประทานปลาได้อย่างสม่ำเสมอ อาหารเสริมประเภทน้ำมันปลา ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สะดวกและง่าย ในปัจจุบันนี้มีทั้งสูตรธรรมชาติและสูตรเข้มข้น ที่เพิ่มความสะดวกในการรับประทานมากขึ้น ซึ่งปกติแล้วร่างกายคนเราต้องการโอเมก้า 3 จากน้ำมันปลา 1000 ถึง 3000 มิลลิกรัมต่อวัน

 

ที่มาและการอ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/

http://www.megawecare.co.th/article/detail/10/น้ำมันปลา-มีประโยชน์มากกว่าที่คุณเคยรู้.html

Exit mobile version