วันอังคาร, 7 มกราคม 2568

วิธีการดูเสาเข็มที่ถูกต้องและได้ของดี

เสาเข็มเป็นส่วนของโครงสร้างที่อยู่ใต้ดิน มีความสำคัญอย่างมากต่อการรับน้ำหนักของอาคารที่ใช้ทำเสาเข็ม สำหรับบ้านพักอาศัยโดยทั่วไปจะใช้เสาเข็มที่มีวัสดุคอนกรีตหรือไม้ตามที่วิศวกรออกแบบกรณีที่เป็นฐานราก ชนิดเสาเข็มสำหรับพื้นที่ที่โครงสร้างของดินสามารถรับน้ำหนักได้เพียงพอในบางพื้นที่ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เสาเข็ม แต่ฐานรากจะถูกออกแบบให้ฐานแผ่ งานด้านฐานรากมีความสำคัญเป็นอย่างมากในระยะยาว ดังนั้นการกำหนดแบบแปลนก่อสร้างจำเป็นต้องมีวิศวกรผู้ออกแบบรับผิดชอบ

 

 

เสาเข็มไม้

ใช้ไม้แก่นลำต้นตรง เป็นไม้ท่อนเดียวกระเทาะเปลือก ไม่มีรอยแตกแยกของเนื้อไม้ขนาดใหญ่หรือผุจนเสียกำลัง ขนาดที่ใช้ให้ใช้ตามวิศวกรผู้ออกแบบกำหนด ขนาดโดยทั่วไปจะต้องสัมพันธ์กันระหว่างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกับความยาวดังต่อไปนี้

 

 

การเสี้ยมปลายเสาเข็ม ถ้าจะต้องเสี้ยมปลายระยะที่เสี้ยมต้องไม่เกิน 2.5 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางและยาวไม่เกิน 30 เซนติเมตร

 

การวัดเสาเข็มไม้

  • เส้นผ่าศูนย์กลางเสาเข็ม ให้วัดที่เส้นรอบวงที่กึ่งกลางเสาเข็มแล้วเทียบค่าในตาราง
  • ความยาวเสาเข็ม วัดเมื่อตัดหัวเสาเข็มและตกแต่งปลายเสาเข็มเรียบร้อยแล้ว

 

เสาเข็มคอนกรีต

เสาเข็มคอนกรีตที่นำมาใช้ในงานก่อสร้าง ต้องเป็นเสาเข็มที่ผลิตจากโรงงานหล่อคอนกรีต หากเป็นเสาเข็มที่มีความยาวมากกว่า 10 เมตร ควรให้วิศวกรโยธาประจำโรงงานเป็นผู้รับรองการออกแบบเสาเข็ม และคุณภาพเสาเข็มทุกต้นต้องระบุวันเดือนปีที่ผลิตและชื่อผู้ผลิตแสดงไว้ชัดเจน

 

สำหรับหน้าตัดของเสาเข็มคอนกรีตมีหลายรูปแบบ เช่น รูปตัวไอ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นต้น สำหรับขนาดหน้าตัดจะต้องตรวจสอบตามที่แบบแปลนระบุว่ามีขนาดความกว้างเท่าไร และความยาวเท่าไร โดยทั่วไปแล้วความคลาดเคลื่อนดังกล่าวของเสาเข็มคอนกรีตมีน้อย เนื่องจากในการใช้ผลิตจะใช้แบบหล่อเสาเข็มที่เป็นแบบมาตรฐานและถาวรใช้งานได้นาน

 

สำหรับหน้าตาตัดเสาเข็มขนาดต่างๆในการก่อสร้างบ้านพักอาศัย ไม่แนะนำให้ใช้เสาเข็มคอนกรีตที่หล่อขึ้นเพื่อใช้งานเอง ซึ่งจะทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น นอกจากนั้นการวางกองและเคลื่อนย้ายเสาเข็มคอนกรีตจะต้องใช้ความระมัดระวังสูง หากยกในจุดที่ไม่ได้ออกแบบไว้อาจทำให้เสาเข็มหักหรือแตกร้าวได้

 

ห้ามนำเสาเข็มที่หักหรือมีรอยแตกร้าวมาใช้งานโดยเด็ดขาด

 

วิธีการตรวจสอบการตอกเสาเข็ม

การตอกเสาเข็มสามารถทำได้ในหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่ใช้ทำเสาเข็ม และขนาดการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพในการตอกเสาเข็มเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับการก่อสร้างบ้านพักอาศัยควรตรวจสอบดูว่า เสาเข็มจำนวนที่ตอกใน 1 ฐานรากเท่ากับจำนวนที่ระบุไว้ในแบบหรือไม่ และได้ความยาวของเสาเข็มที่จมอยู่ในดินตามที่วิศวกรผู้ออกแบบกำหนดไว้หรือไม่

 

นอกจากนั้นขณะที่ทำการตอกเสาไม่ว่าจะใช้เครื่องมือใดก็ตาม เสาเข็มจะต้องตั้งในแนวดิ่ง หากกรณีเสาเข็มไม่สามารถตอกลงได้ตามความลึกที่ระบุในแบบแปลน ขอให้แจ้งวิศวกรผู้ออกแบบหรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน เพื่อให้ตัดสินใจตามหลักวิศวกรรม เนื่องจากการตอกเสาเข็มไม่ลงมีเหตุปัจจัยได้หลายอย่าง ไม่ควรตัดสินใจดำเนินการใดๆโดยภาระการ

 

การสร้างบ้านในบางพื้นที่จำเป็นต้องใช้เสาเข็มที่มีความยาวมาก ซึ่งอาจจะถึง 22 เมตร ดังนั้นจึงต้องใช้เสาเข็มชนิดต่อก็คือการใช้เสาเข็ม 2 ท่อนต่อกัน ไม่ควรให้มีการต่อมากกว่า 2 ท่อน สำหรับข้อต่อระหว่างเสาเข็มตอนแรกกับท่อนที่ 2 ต้องเป็นเหล็กเหนียวและหล่อเป็นส่วนเดียวกับตัวเข็ม แต่ละส่วนการต่อให้ต่อโดยวิธีเชื่อมด้วยไฟฟ้า

 

source : คู่มือก่อสร้างบ้าน ฉบับ Guideline รวบรวมความรู้และข้อมูลเพื่อเจ้าของบ้าน โดย สัญญา นามี