อาการกรน เป็นการส่งเสียงดังในระหว่างการนอนหลับ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่เนื้อเยื่อสั่นสะเทือนในทางเดินหายใจส่วนบน และเป็นปัญหาทั่วไปที่ส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ ซึ่งก็จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่สิ่งที่น่ากลัวก็คือการหยุดชะงักของการกรน นั่นหมายถึงว่าอาจมีการหยุดหายใจร่วมด้วย
การนอนกรนพบได้บ่อยแต่รักษาได้ เกิดขึ้นเพราะมีการหายใจแบบไม่ปกติผ่านทางเดินหายใจ ทำให้ลิ้นไก่และเพดานอ่อนสั่นสะเทือน แต่การนอนกรนอาจเกี่ยวข้องกับการหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นอาการของความดันโลหิตสูงและโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย ทั้งนี้พบว่าผู้ชายกรนบ่อยกว่าผู้หญิง แต่ก็สามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทุเลาการนอนกรนได้
การกรนอาจทำให้รำคาญและบางครั้งเป็นสัญญาณของปัญหาในช่วงเวลาตื่นนอน เนื้อเยื่อในลำคอ และทางเดินหายใจส่วนบนจะเปิดเพื่อให้อากาศเข้าสู่ปอดได้ง่าย ในระหว่างการนอนหลับเนื้อเยื่ออ่อนและลิ้นจะผ่อนคลายจึงสามารถปิดกั้นทางเดินหายใจบางส่วน พอมีการหายใจเข้าออกด้วยแรงที่มากก็จะทำให้สั่นสะเทือนจึงทำให้เกิดการนอนกรน
โรคอ้วน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์หรือมีอาการคัดจมูกบ่อย ๆ เป็นตัวการเพิ่มความเสี่ยงของการนอนกรนเป็นประจำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อ 44 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชายชาย และ 28 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 30 และ 60 ปี
5 โรคที่ทำให้มีอาการนอนกรน:
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (OSA)
- โรคเบาหวานประเภท 2
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- ความอ้วน
- ปัญหาไซนัสหรือจมูก
การนอนกรน เชื่อมโยงกับผนังหลอดเลือดซึ่งทำให้เลือดไปเลี้ยงสมอง จึงเป็นตัวการเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองด้วย
อาการหยุดหายใจขณะหลับ
อาการกรน อันตรายมากกว่าที่คิด เพราะทำหยุดหายใจขณะหลับได้ อาจมีการสำลักหรือเสียงหอบ นอกเหนือจากการนอนกรนเสียงดัง หยุดหายใจขณะหลับ ก็ยังนำไปสู่อาการต่อไปนี้ :
- ง่วงนอนตอนกลางวัน
- โรคนอนไม่หลับ
- อาการปวดหัวตอนเช้า
- ไม่มีสมาธิในระหว่างวัน ทั้งการเรียน และการทำงาน
- หงุดหงิดง่าย
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ดังนั้นผู้ที่มีอาการนอนกรนถึงขั้นเสี่ยงหยุดหายใจควรไปพบแพทย์เพื่อรับการปรึกษา เช่น หยุดหายใจขณะหลับ เพราะสมองขาดออกซิเจน ระบบหัวใจและหลอดเลือดเสื่อม ซึ่งจะไปกระตุ้นให้อาการโรคประจำตัวกำเริบได้ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจวาย ไปจนถึงหัวใจเต้นผิดจังหวะ นำไปสู่ความเหนื่อยล้าและการขาดสมาธิ นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพจิตบางอย่างด้วย
1.เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
เพราะแอลกอฮอล์มีผลกดสมองอย่างรุนแรง ฤทธิ์แอลกอฮอล์ทำให้ยิ่งไม่รู้สึกตัวและกดศูนย์หายใจในสมอง พาลทำสมองให้ขาดออกซิเจนหนักจนไม่ตื่น (ซึ่งก็มีมาแล้ว)
2.ไม่กินยานอนหลับ
ในส่วนนี้ต้องระวังให้มาก เพราะยานอนหลับอาจทำให้กลไกของร่างกายที่จะปลุกเราให้ตื่นนั้นหยุดทำงาน ทำให้กลายเป็นหยุดหายใจไปอย่างถาวร
3.ปรับน้ำหนักลดความอ้วน
แม้ความอ้วนหรือว่าความผอมจะไม่ใช่เครื่องยืนยันว่าทำให้หยุดหายใจได้ แต่ในคนอ้วนก็มีความเสี่ยงสูงที่จะมีเนื้อหนังแถวคอห้อยย้อยไปอุดตันโดยไม่รู้ตัวตอนนอน
4.ตรวจการนอนโดยเครื่องตรวจของแพทย์
เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าเราเป็นผู้ที่นอนแล้วหยุดหายใจระหว่างนอนหรือไม่ ควรไปให้แพทย์ตรวจด้วยเครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าที่มาจากการนอนสัก 1 คืน ซึ่งค่าใช้จ่ายอาจจะสูงอยู่สักนิด แต่อย่างไรแล้วก็สามารถไปใช้บริการในโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยได้ในราคาที่ไม่สูงมากนัก
5.ไม่ขับรถในขณะง่วง
นอกจากการเมาไม่ขับแล้ว การง่วงก็ไม่ควรขับรถด้วยเช่นกัน เพราะเป็นสาเหตุของคนหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งก็อันตรายอย่างมากในขณะขับรถด้วย
6.งดการนอคว่ำหน้า
เพราะการนอนคว่ำทำให้ลิ้นตก เหนียงในคอ เพดานอ่อนและลิ้นไก่ก็จะหย่อนตามมา มีการศึกษาว่าการนอนตะแคงหรือเอนหลังเรา 30 องศาหรือหาหมอนหนุนสัก 1-2 ใบจะช่วยได้
7.ระวังโรคประจำตัว
โดยเฉพาะท่านที่มีโรคหัวใจ ความดันสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมองตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เพราะการหยุดหายใจจะฉุดให้อาการกำเริบรุนแรงขึ้นมาได้ จึงควรควบคุมโรคดังกล่าวนี้ไว้ให้ดี
อีกหนึ่งทางการแพทย์ที่จะช่วยได้ (แต่ไม่ใช่ทุกกรณี) คือ การใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก (CPAP) เป็นเครื่องส่งแรงดันไปช่วยแก้ปัญหาหยุดหายใจจนฝ่อออกซิเจนไปตอนหลับ อย่างไรก็ตาม 7 วิธีแก้อาการนอนกรนด้วยตัวเองดังกล่าวข้างต้น จะสามารถช่วยให้หายได้เช่นกัน
source : นพ.กฤษดา ศิรามพุช , medicalnewstoday