วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย และยังมีผลต่อการเจริญเติบโตการสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง
วิตามินเอ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา และกลุ่มที่กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า Carotene เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกาย จะได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม วิตามินเอช่วยในการมองเห็นในที่มืดและป้องกันการแพ้แสงต่างๆที่เป็นผลเสียต่อสายตา ส่วนผักผลไม้ที่ให้วิตามินเอส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม เพราะมีเบต้าแคโรทีนและแคโรนอยด์ที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอต่อไป และเนื่องด้วยวิตามินเอในผักผลไม้ มีความไวต่อออกซิเจนมาก ดังนั้น วิธีการต้มที่ป้องกันการสูญเสียวิตามินได้ดีทีสุดคือ ควรปิดฝาภาชนะขณะต้มและใส่น้ำน้อยๆ
- มีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธ์ุ
- ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ
- ทำให้ผิวและผมแข็งแรง
- เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถชะลอความแก่ได้
- ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน (Night Blindness)
- ช่วยให้กระดูก ผม ฟัน และเหงือกแข็งแรง
- สร้างความต้านทานให้ระบบหายใจ
- ช่วยสร้างภูมิชีวิตให้ดีขึ้น และทำให้หายป่วยเร็วขึ้น
- ช่วยในเรื่องของผิวพรรณ ลดการอักเสบของสิว และช่วยลบจุดด่างดำ
- ช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับไทรอยด์
- ช่วยรักษาโรคผิวหนังชนิดเป็นตุ่มพุพองที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ฝี ชันนะตุ และแผลเปิดต่าง ๆ
- ช่วยสร้างเนื้อเยื่อชั้นนอกของอวัยวะต่าง ๆ ให้มีสุขภาพดีขึ้น
- วิตามินเอช่วยลดระยะเวลาการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
3 โรคจากการขาดวิตามินเอ
1.โรคผิวหนัง เนื่องจากวิตามินเอมีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพเยื่อบุผิวหนัง ขาดวิตามินเอทำให้ผิวพรรณขาดความชุ่มชื้น หยาบกร้าน แห้งแตก โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณข้อศอก ตาตุ่มและข้อต่อต่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคผิวหนัง เช่น สิวและโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้
2.ตาฟาง หน้าที่ของวิตามินเอ คือช่วยในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืน หรือในที่แสงสว่างน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้
3.ความต้านทานโรคต่ำ วิตามินเอเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานตามปกติ การขาดวิตามินเอจึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย และทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก คอ และที่ต่อมน้ำลาย
อันตรายจากการได้รับวิตามินเอเกินขนาด
1.แท้งลูกหรือพิการ หญิงมีครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์คลอดออกมาพิการหรือแท้งได้ เนื่องจากวิตามินเอมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ อาจทำให้เด็กมีความผิดปกติที่ทางเดินปัสสาวะ กระดูกผิดรูป หรือมีติ่งปูดออกมาที่บริเวณหู
2.อาการอ่อนเพลีย หากร่างกายได้รับวิตามินเอเกินครั้งละ 15,000 ไมโครกรัม จะมีผลทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและอาเจียนได้
3.มีอาการเจ็บกระดูกและข้อต่อ เบื่ออาหาร เซื่องซึม นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ผมร่วง ปวดศีรษะ ท้องผูก ทั้งหมดนี้เป็นโทษในระยะยาวที่เกิดจากการรับประทานวิตามินเอมากเกินไปในสัตว์กระเพาะเดี่ยว เมื่อได้รับเกินความต้องการ 4-10 เท่า จะทำให้โครงกระดูกผิดปกติ ในสัตว์เคี้ยวเอื้องเมื่อได้รับเกิน 30 เท่า จะเกิดอาการผิดปกติ
ทำความรู้จัก ลูทีน Lutein
ลูทีน ( Lutein ) คือ สารกลุ่มแคโรทีนอยด์ (สารสีเหลือง) มีส่วนอย่างมากในการต่อต้านสารต้านอนุมูลอิสระ ลูทีนพบมากที่สุดตรงบริเวณจุดศูนย์กลางของเรตินา หรือ จอตา ซึ่งทำหน้าที่ช่วยปกป้องดวงตา โดยเฉพาะดูดซับแสงสีน้ำเงินก่อนที่จะส่งผลเสียต่อดวงตา เป็นสาเหตุอันดับต้นๆที่ทำให้ดวงตาของผู้คนในปัจจุบันมีปัญหา ลูทีนจะเริ่มลดลงในช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไป จึงจำเป็นต้องดูเเลรักษา เเละบำรุงดวงตาด้วยการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อดวงตา จากการศึกษาพบว่า ระดับลูทีน 2.0 – 6.9 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยป้องกันความเสื่อมของจุดด่างในดวงตาได้
6 ประโยชน์ของสารลูทีน
1.จะช่วยสร้างสารต้านอนุมูลอิสระในการป้องกันเยื่อแก้วตา (retina)
2.การรับประทานแคโรทีนอยด์ในปริมาณที่สูงที่สุด จะมีอัตราเสี่ยงต่ำกว่า 43% สำหรับภาวะการเสื่อมของจอประสาทตาเสื่อม เมื่อเปรียบเทียบการรับประทานในปริมาณที่ต่ำที่สุด
3.จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 876 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 55-80 ปี การได้รับลูทีนและซีแซนทีน ในอัตราสูง จะช่วยลดความเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อมอย่างเฉียบพลันตามอายุได้
4.จากการศึกษาคนไข้จำนวน 421 คน แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ได้รับลูทีนและซีแซนทีนในระดับสูงที่สุด จะมีส่วนสำคัญต่อการลดระดับอัตราเสี่ยงของความเสื่อมของตาตามอายุได้
5.จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า หญิงและชายที่ได้รับ ลูทีนในระดับสูงที่สุด จะเป็นต้อกระจกในอัตราที่ต่ำกว่า ผู้ที่ไม่รับประทานลูทีนจากผักและผลไม้
6.สารลูทีนอาจช่วยป้องกันมะเร็งปอด มะเร็งสำไส้ และมะเร็งเต้านม
การรับประทานสารลูทีน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ในทั้งผู้ชายและผู้หญิง ลดอัตราเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือ การตรวจพบการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ระยะเริ่มแรก การรับประทานผักที่อุดมไปด้วยแคโรทีนอยด์ ซึ่งประกอบด้วยลูทีนในปริมาณสูง จะลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ โดยเฉพาะสำหรับสตรีที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านม
source : th.wikipedia.org/wiki/วิตามินเอ , th.wikipedia.org/wiki/สารพฤกษเคมี#สารลูทีน_(Lutein)