โรคตับจากภาวะไขมันพอกตับ หรือที่เรียกว่า nonalcoholic fatty liver disease (nafld) หมายถึงภาวะที่มีไขมันอยู่ในเซลล์ตับโดยที่คนนั้นไม่ได้ดื่มสุรา เซลล์ไขมันนี้จะไม่ก่อให้เกิดการเสียหายหรืออักเสบกับตับในระยะแรก แต่ก็มีผู้ป่วยบางส่วนที่ไขมันทำให้เกิดการอักเสบของตับ จนในที่สุดก็จะเป็นตับแข็ง (cirrhosis)
เลซิทิน (อังกฤษ: lecithin) เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิค (phospholipid) ที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการเข้าออกของสารอาหาร ถ้าไม่มีเลซิตินจะมีลักษณะแข็งและขาดความยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังพบว่าเลซิตินเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท เลซิตินยังมีคุณสมบัติเป็น emulsifier หรือสารที่ทำให้น้ำกับน้ำมันเข้ากันได้ ดังนั้นจะพบว่าได้มีการนำมาใช้ในการควบคุมคอเลสเตอรอลในเลือดอย่างแพร่หลาย
เลซิตินพบได้มากในถั่วเหลือง
แม้ว่าเลซิตินจะพบได้มากในถั่วเหลือง แต่แหล่งอาหารอื่น ๆ ที่ให้เลซิตินยังมีอีกมาก อาทิ ไข่แดง ตับ ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา บริวเวอร์ยีสต์ และพืชบางชนิด ทั้งนี้อาจจะรวมถึงผลิตภัณฑ์ Multi-Vitamin ที่มีเลซิตินผสมอยู่ด้วย เลซิตินที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่สองชนิด คือ แกรนูล และแคปซูล ชนิดแกรนูลนิยมรับประทาน โดยผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น นม นมเปรี้ยว น้ำผลไม้ ฯลฯ และยังนิยมให้ผสมหรือโปรยบนอาหารประเภทต่าง ๆ อีกด้วย
ร่างกายมนุษย์สามารถผลิตเลซิตินได้
“ตับ”คือสารตั้งต้นที่ร่างกายใช้ผลิตเลซิติน เช่น กรดไขมันจำเป็น วิตามินบี และสารอาหารสำคัญอื่นๆ หากร่างกายได้รับสารอาหารต่างๆเหล่านี้ไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ร่างกายสร้างเลซิตินได้ไม่เพียงพอ การรับประทานเลซิตินเสริมจึงมีความจำเป็นอย่างมาก
ปัจจุบันเลซิตินมักจะสกัดได้จาก ไข่แดง และถั่วเหลือง ซึ่งถั่วเหลืองจะเป็นแหล่งที่ดีในการสกัดเลซิติน เพราะปราศจากไขมันโคเลสเตอรอล และยังอุดมไปด้วยโปรตีนที่มีคุณค่าต่อร่างกายมากกว่า ซึ่งร่างกายของเราต้องการเลซิตินวันละ 6 กรัม ส่วน โคลีน ต้องการวันละ 0.6-1 กรัม สมัยก่อนไม่ค่อยพบว่ามีการขาดสารเลซิติน แต่ปัจจุบันคนนิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ จึงอาจจะทำให้เกิดการขาดสารเลซิติน
สารสำคัญที่พบในเลซิทิน
- ฟอสฟาทิดิลโคลีน (phosphatidylcholine) เป็นสารที่ให้วิตามินบีชนิดหนึ่ง เรียกว่า โคลีน สารโคลีนเป็นสารต้นตอในการสังเคราะห์สารสื่อประสาท
- อะซีทิลโคลีน (acetylcholine) ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเลซิติน ได้แก่ ฟอสฟาทิดิลอิโนซิทอล ฟอสฟาทิดิลเอททาโนลามีน กรดไลโนเลอิก ฯลฯ
เลซิตินกับการบรรเทาโรคตับชนิดต่างๆ
1.โรคตับจากแอลกอฮอล์ จากรายงานทางการแพทย์ของ lieber และคณะในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นการศึกษาทั้งหมด 20 ศูนย์ในอเมริกา โดยมีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 789 ราย โดยผู้ป่วยจะได้รับฟอสฟาทิดิลโคลีน จากผลการตรวจชิ้นเนื้อของตับที่ 24 เดือน หลังจากการรักษาพบว่าผู้ป่วยโรคตับจากแอลกอฮอล์ที่ได้รับฟอสฟาทิดิลโคลีน มีแนวโน้มที่ดีและค่าเอมไซม์ของตับดีขึ้น
2.โรคตับจากยา จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า มีการศึกษาการป้องกันตับอักเสบในผู้ป่วยที่รับยาต้านวัณโรค จำนวนคนไข้ 340 คน โดยได้รับยาต้านวัณโรคร่วมกับฟอสฟาทิดิลโคลีน 900 มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับฟอสฟาทิดิลโคลีน พบว่ากลุ่มคนไข้ที่ได้รับยาต้านวัณโรคร่วมกับฟอสฟาทิดิลโคลีน ไม่พบค่าความผิดปกติของค่าเอมไซม์ของตับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับร่วมกับฟอสฟาทิดิลโคลีน กลับพบว่าค่าค่าเอมไซม์ของตับสูงขึ้นกว่าปกติ
3.โรคตับจากภาวะไขมันพอกตับ หรือที่เรียกว่า nonalcoholic fatty liver disease (nafld) หมายถึงภาวะที่มีไขมันอยู่ในเซลล์ตับโดยที่คนนั้นไม่ได้ดื่มสุรา เซลล์ไขมันนี้จะไม่ก่อนให้เกิดการเสียหายหรืออักเสบกับตับในระยะแรก แต่ก็มีผู้ป่วยบางส่วนที่ไขมันทำให้เกิดการอักเสบของตับ จนในที่สุดก็จะเป็นตับแข็ง (cirrhosis)
เลซิตินช่วยลดการเกิดภาวะไขมันพอกตับได้
- โคลีนในเลซิติน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของเซลล์โดยเฉพาะเซลล์ตับ พบว่าหากขาดโคลีนจะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับได้
- โคลีนจะมีผลในการเร่งการเผาผลาญไขมันที่ตับ ทำให้ไขมันถูกนำไปใช้เป็นพลังงานมากขึ้น
- เลซิตินมีผลในการช่วยลดไขมันในเลือด โดยเฉพาะไขมันโคเลสเตอรอลที่เป็นตัวการสำคัญในการทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ดังนั้นการรับประทานเลซิตินจะทำให้ลดโอกาสเกิดภาวะไขมันพอกตับได้
14 สรรพคุณของเลซิติน
- ช่วยป้องกันและสลายโคเลสเตอรอล หรือไขมันที่อุดตันในหลอดเลือด จึงนิยมในกันมากในผู้ที่มีปัญหาไขมันอุดตันในหลอดเลือด
- phosphaticylcholine ซึ่งให้สารโคลีน เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประเภท อะเซททิลโคลีน จะช่วยให้ความจำและความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น
- ช่วยให้การทำงานของตับมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ในผู้ที่มีภาวะไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง
- ให้สารอิโนซิทอล (inositol) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยบำรุงเซลล์ประสาท ทำให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น
- ป้องกันโรคสมองและหัวใจขาดเลือด
- ช่วยลดการดูดซึมและเพิ่มการขับถ่ายไขมันโคเลสเตอรอลทางอุจจาระ
- ช่วยเพิ่มสัดส่วนของไขมันเอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (hdl-cholesterol) ที่เป็นไขมันชนิดดี
- เลซิตินเป็นองค์ประกอบของเยื่อบุผิวของเซลล์ เพราะร่างกายจะนำเลซิตินไปใช้ในการสร้างเยื่อบุผิวเซลล์ต่างๆ เช่น เซลล์เม็ดเลือด เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ผิวหนัง รวมถึงเซลล์ของอวัยวะต่างๆ
- ช่วยในกระบวนการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดีขึ้น การรับประทาน lecithin จะช่วยให้ร่างกายสามารถนำวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ ดี อี และ เค ดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยควบคุมน้ำหนักของร่างกาย เพราะเลซิตินจะช่วยทำให้ไขมันกระจายตัวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ที่แขวนลอยในน้ำ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันโคเลสเตอรอลได้ดีขึ้น
- เลซิตินช่วยรักษาท่อน้ำนมอุดตัน
- ช่วยเสริมสร้างสุขภาพของไต
- ลดการเสื่อมของหลอดเลือดแดง
เลซิตินกับการเป็นอาหารเสริม
สำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี อาจเลือกรับประทานเลซิติน จากอาหารที่มีเลซิตินเป็นองค์ประกอบ เช่น ไข่แดง พืชตระกูลถั่ว และธัญพืชที่ไม่ได้ขัดสีเปลือกออกหมด ในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพข้างต้น อาจรับประทานเลซิตินเป็นอาหารเสริมควบคู่กับการรับประทานอาหารหลัก เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ประกอบกับการออกกำลังกาย ตลอดจนการมีอารมณ์ที่แจ่มใส จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ
เลซิติน ข้อควรระวัง
แม้ว่าเลซิตินจะมีประโยชน์หลายประการ แต่การรับประทานเลซิตินในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน น้ำลายหลั่งออกมาก เบื่ออาหาร เหงื่อออกมาก ดังนั้นผู้บริโภคควรระมัดระวังในการใช้เลซิตินสังเคราะห์ ควรรับประทานอาหารที่มี เลซิตินตามธรรมชาติก็จะได้ประโยชน์ เช่นเดียวกัน
เลซิตินเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวัตถุเจือปนอาหาร ซึ่งกำหนดอยู่ในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 พุทธศักราช 2547 ซึ่งจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนการจำหน่าย ดังนั้นในการเลือกซื้อเลซิตินสังเคราะห์ ผู้บริโภคควรดูว่าสินค้ามีเครื่องหมาย อย. วันหมดอายุ ชนิด และปริมาณสารสำคัญในผลิตภัณฑ์หรือไม่ ส่วนคำถามที่ถามว่า เลซิตินกินตอนไหน ควรทานวันละ 1 แคปซูล พร้อมอาหาร เพื่อป้องกันการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร
source : th.wikipedia , thaihealth , บทความวิทยุกระจายเสียงรายการสาระยามบ่าย ครั้งที่ 74 กระจายเสียงจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ประจำเดือน ธันวาคม 2549 เวลา 16.30-17.00 น. เรื่องน่ารู้ของเลซิติน (Lecithin) เรียบเรียงโดย นางวิภาวรรณ ศรีมุข นักวิทยาศาสตร์ 7 ว โครงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กรมวิทยาศาสตร์บริการ