การที่ลูกเริ่มโตขึ้น ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะต้องเพิ่มอาหารเสริมให้เขามากขึ้น แต่ลูกจะค่อยกินอาหารมากขึ้นเองตามธรรมชาติ
เด็กที่อายุเกิน 7 เดือน จะเริ่มแสดงออกถึงนิสัยการกินเฉพาะตัวออกมาให้คุณพ่อคุณแม่ได้เห็น เด็กบางคนชอบกินข้าวชามโตๆทานแป๊บเดียวก็หมด แต่บางคนไม่ชอบเลย มื้อหนึ่งกินได้ไม่กี่ช้อน คุณแม่ต้องคอยสังเกตว่าเขาชอบอะไรมากกว่าข้าว อาจเป็นก๋วยเตี๋ยวหรือขนมปังก็ได้ บางคนอาจไม่ชอบอาหาร คุณแม่ก็เริ่มให้เขาทานข้าวสวยตอนนี้เลยก็ได้ ผักและเนื้อสัตว์ก็ไม่จำเป็นทั้งหมด เพียงแค่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆก็พอ ส่วนเนื้อปลาถ้าจะให้ลูกทานควรเลือกปลาเนื้อขาว หากเลือกปลาเนื้อแดงหรือปลาที่มีมันมากก็ต้องค่อยๆให้ทีละน้อย
เด็กในวัยนี้เริ่มทานอาหารได้หลากหลายชนิด ดังนั้นเพื่อช่วยในเรื่องของการเรียนรู้รสชาติ ควรให้ลูกได้ลองทานข้าวและกับข้าวชนิดคาว ทีละอย่างสองอย่าง ไม่ใช่ให้ลูกทานแต่ข้าวตุ๋นที่ใส่ทั้งหมู ตับ หรือผักรวมกันทุกมื้อ แต่ไม่ว่าจะให้เขาทานอะไร ข้อสำคัญอยู่ที่การปรุงต้องสะอาดและรสชาติที่ไม่จัดเกินไป เพราะหากลูกอายุได้ 8 เดือน นิสัยการกินก็จะเปลี่ยนไปอีก ส่วนใหญ่จะเริ่มชอบของที่ต้องขบเคี้ยว การฝึกให้เขาได้รับประทานผลไม้ จึงควรทำในช่วงนี้
การเลือกผลไม้ ก็ให้เลือกที่แข็งเล็กน้อยอย่างเช่น ชมพู่ Apple หรือฝรั่ง โดยการนำมาหั่นชิ้นพอประมาณ ให้ลูกได้ถือแทะเล่น และสังเกตว่าลูกจะถูกใจมาก ส่วนขนมไม่ใช่ของจำเป็นสำหรับเด็ก จะให้หรือไม่ให้ก็ได้ อย่างไรก็ไม่มีผลต่อการเติบโตของลูก แต่ถ้าเขารู้สึกดีใจมากเมื่อได้กินขนม คุณแม่ก็ควรให้กินบ้าง เด็กจะได้มีความสุข แต่ก็ควรเลือกชนิดที่มีประโยชน์มากกว่าพวกลูกอมหรือขนมหวาน
เด็กวัยนี้ไม่ค่อยอยู่นิ่ง แทนที่คุณแม่จะวิ่งไล่ป้อนอาหาร ควรให้เขานั่งทานอาหารที่โต๊ะหรือในเก้าอี้หัดเดินดีกว่า ส่วนระยะเวลาในการให้อาหารนั้น ขึ้นอยู่กับนิสัยของเด็กแต่ละคน บางคนกินเร็ว บางคนกินช้า แต่ถ้าช้าเกินไป อย่างเช่น กว่าจะกินหมดในแต่ละมื้อต้องป้อนกันเป็นชั่วโมง แปลว่าเด็กไม่ได้ชอบอาหารนั้น หรือไม่ก็เพราะเขายังไม่หิวจริงๆ
ถ้าคุณแม่ป้อนอาหารให้เขากินเกินครึ่งชั่วโมงแล้วเขายังเอาแต่อมอยู่ ก็ไม่ควรซื้อเข้าบ้านอีกต่อไป เพราะนอกจากจะเสียเวลาแล้ว ยังทำให้เขาเคยชินกับการถูกคุณแม่เลยป้อนจนติดเป็นนิสัย เด็กสุขภาพดีไม่ได้หมายถึงเด็กอ้วน หากลูกทานไม่เก่ง แต่ได้ทานอาหารที่มีประโยชน์และร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์คุณพ่อคุณแม่ก็น่าจะพอใจแล้วละ