วันพฤหัสบดี, 28 พฤศจิกายน 2567

ปัญหาเรื่อง “โรคตาในเด็ก”

12 ก.ค. 2019
1284

ลูกสายตาสั้น ตาเข ตาเป็นกุ้งยิง หรือปัญหาอื่น ๆ ย่อมเป็นปัญหาให้พ่อแม่ทุกข์ใจทั้งสิ้น แต่ไม่ใช่ปัญหาคอขาดบาดตายขนาดนั้น เพราะสามารถป้องกันได้ สิ่งสำคัญคือการเอาใจใส่ลูกให้มาก ๆ โดยเฉพาะในยุคที่พ่อแม่ชอบให้ลูกเล่นโทรศัพท์ เพื่อที่จะได้หยุดเล่นซน เพราะเรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่โตมาแล้วตามที่เราเคยได้ยินได้ฟังกันมา เรามาดูกันว่ามีโรคตาในเด็กมีอะไรอีกบ้าง สาเหตุเกิดจากอะไร และจะป้องกันได้ยังไง

 

 

ลูกตาเข :

ลูกมีปัญหาด้านการเรียน บ่นปวดตา หรือปวดศีรษะ มีอาการตาแดง ถือหนังสือใกล้ๆเพื่ออ่าน ทำให้ต้องเอียงศีรษะเพื่อมอบให้ชัดมากขึ้น พ่อแม่ต้องนำลูกพบกุมารแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา โดยแพทย์จะทำการทดสอบ ด้วยการให้ลูกดูแผนทดสอบว่ามองเห็นหรือไม่ เมื่อลูกอายุ 3-4 ขวบและทุกครั้งที่มารับวัคซีนและตรวจสุขภาพ

 

สายตาสั้น :

คืออาการมองใกล้ชัด แต่มองไกลไม่ชัด เป็นปัญหาตาที่พบบ่อยที่สุดเวลาที่ลูกมีปัญหาการเรียน จะพบบ่อยในช่วง 6-10 ขวบ จึงควรสังเกตเวลาลูกอ่านหนังสือโดยดูที่ระยะการมองเห็นว่าใกล้-ไกล หรือเอียงมากน้อยแค่ไหน รวมถึงอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การเดินชนโต๊ะ-เก้าอี้ อยู่เป็นประจำ เป็นต้น

 

เยื่อบุตาอักเสบ :

เกิดจากเชื้อไวรัสแบคทีเรีย หรือสารก่อภูมิแพ้ ถ้าเป็นไม่รุนแรง เยื่อบุตาจะมีสีชมพูและมีขี้ตาไม่มาก เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดที่ทำให้เป็นหวัด ถ้ามีการอักเสบที่ตาโดยไม่มีอาการหวัดร่วมด้วย ส่วนมากจะเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง ควรพบแพทย์ทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าตาแดง จะมีอาการปวดหรือขี้ตาจะมีสีเข้มจำนวนมาก เรียกว่า “เยื้อบุตาอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย” รักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะชนิดหยดหรือชนิดขี้ผึ้งป้ายตา อาการเหล่านี้เป็นโรคติดต่อง่ายมาก จึงต้องล้างมือบ่อยๆ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยา 2-3 วัน อาจเป็นเพราะมีผงฝุ่นหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา จึงต้องกลับไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจอีกครั้ง

 

ตากุ้งยิง :

คือการอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง มีลักษณะเป็นตุ่มนูนเป็นหัวแล้วแตกออกได้เอง รักษาโดยใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตา เพื่อทำให้แผลหายเร็วขึ้น และป้องกันการแพร่กระจายไปที่โคนขนตาเส้นอื่นๆ การประคบอุ่นช่วยให้รู้สึกสบายตาขึ้น และทำให้หายเร็วขึ้น ห้ามขยี้ตา และคนที่เป็นตากุ้งยิงต้องล้างมือและล้างหน้าให้สะอาดก่อนจับทารก เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

 

Source : คำภีร์เลี้ยงลูก , ดร.สป๊อก-นายแพทย์เบนจามิน สป๊อก (เขียน).แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ (แปล)