วันอาทิตย์, 5 มกราคม 2568

9 ข้อควรรู้ เรื่องหลังคาบ้าน

โครงหลังคาในปัจจุบัน นิยมออกแบบโครงสร้างรับน้ำหนักหลังคาเป็นเหล็กรูปพรรณ เนื่องจากก่อสร้างง่าย ผู้ออกแบบจำเป็นต้องระบุรายละเอียดของการเชื่อมต่อและจุดยึดต่อให้ดี

 

ทั้งนี้การออกแบบที่สมบูรณ์ เมื่อนำไปก่อสร้าง จึงไม่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งระหว่างผู้ออกแบบกับผู้รับเหมา ซึ่งการออกแบบโครงสร้างเหล็ก ไม่ใช่เพียงการกำหนดขนาดของเหล็กเท่านั้น การออกแบบและตรวจสอบรอยต่อและจุดยึด ก็มีความสำคัญมากเช่นกัน

 

สำหรับโครงหลังคาหน้ากาก การจัดวางโครงสร้างของเหล็กตามที่แบบกำหนด ในส่วนของโครงสร้างรองรับหลังคา จะต้องมีการออกแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนด ในการจัดวางตำแหน่งโครงสร้างจากผู้ผลิตวัสดุมุงหลังคาที่เราได้เลือกไว้

 

นอกจากนั้น การกำหนดรายละเอียดของงานทาสีกันสนิมและสีจริง ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม จึงจำเป็นต้องกำหนดให้ทาสีแต่ละชนิด อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 ชั้น ทั้งสีกันสนิม และสีจริง เมื่อเลือกวัสดุมุงหลังคาแล้ว อย่าลืมขอข้อกำหนดที่ใช้ในการติดตั้งวัสดุจากผู้ผลิตมาด้วย

 

 

9 ข้อควรรู้ เรื่องหลังคาบ้าน 

1.สาเหตุการพังของหลังคาเหล็ก

โดยทั่วไป หากวิศวกรโครงสร้างออกแบบไม่ผิด โครงสร้างหลังคาเหล็กทั้งหลาย เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว โอกาสจะพังลงมานั้นน้อยมาก แต่ส่วนใหญ่มักจะพังลงมาตอนที่กําลังก่อสร้าง เหตุสําคัญก็เพราะวิศวกรผู้ออกแบบ อาจจะออกแบบให้โครงสร้างนี้อยู่ได้เมื่อก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว การยึดติดระหว่างโครงสร้างมั่นคงและช่วยกันทํางาน เช่น โครงทรัสท์ (Trust), แป, Tied Rod, และกระเบื้อง เป็นต้น

 

หากผู้ก่อสร้างไม่ได้ศึกษาเอาไว้ หรือไม่ได้สอบถาม-ปรึกษาวิศวกรผู้ออกแบบตอนขึ้นโครงสร้าง มันก็อาจจะพังลงมาได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น วิศวกรผู้ออกแบบ เมื่อออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็อาจจะต้องตอบคำถามบ้างอย่างได้ เช่น ผู้รับเหมาะอาจถามว่า สร้างอย่างไหนก่อนอย่างไหนหลัง เป็นต้น

 

2.หลังคากระจกต้องเป็น Laminated Glass เท่านั้น

LAMMINATED GLASS จะมีฟิล์มติดอยู่ระหว่างกระจก 2 แผ่น สําหรับคนที่ชอบแสงธรรมชาติ แล้วเอากระจกไปทําหลังคาเพื่อให้แสงธรรมชาติส่องผ่านเข้ามาได้ กระจกนั้นต้องเป็นชนิด Laminated เท่านั้น (กระจก Laminated คือกระจกที่ประกบติดกันด้วยแผ่นฟิล์มเหนียว) จะใช้กระจกแผ่นเดียวไม่ได้ ไม่ว่ากระจกนั้นจะหนาเพียงไร หรือแข็งแรงเพียงไร เพราะหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจะทําให้หลังคากระจกแตก เศษกระจกจะไม่หล่น ลงมาทันที แต่จะถูกยึดติดด้วยแผ่นฟิล์มก่อน มีเวลาเพียงพอที่จะหลบหลีก และเปลี่ยนแผ่นกระจกบานใหม่ได้ทันการณ์

 

3.ทําหลังคาเอียงลาดบนตึงสูง ๆ อย่าลืมรางน้ำ

ใครที่กําลังออกแบบหรือออกแบบเสร็จแล้ว หากอาคารของคุณเป็นอาคารสูง ๆ ที่มียอดเป็นหลังคาลาดเอียง ช่วยกรุณาทํารางน้ำไว้ด้วย เพราะความแรงของน้ำที่ตกลงมาจากหลังคาลาดเอียงของคุณเป็นร้อยเมตร อาจทําให้รถที่จอดอยู่ข้างถนนบุบเอาง่าย ๆ

 

4.ห้องใต้หลังคา พื้นที่ที่เกือบได้ฟรี แต่จะทํายังไงไม่ให้เป็นห้องเตาอบ

สําหรับบ้านสมัยใหม่ที่กลับไปยกหลังคาให้สูงขึ้นเหมือนบ้านเมื่อ 30 ปีที่แล้ว พื้นที่ใต้หลังคาจะสูงมาก สามารถปรับให้เป็นห้องใต้หลังคาได้ (Atic) โดยเสียค่าโครงสร้าง-ผนัง-พื้นไม่แพงขึ้นมากเท่าไร แถมยังเป็นฉนวนกันความร้อน จากหลังคาเข้ามายังตัวอาคารได้อีกด้วย แต่ปัญหาความร้อนจากหลังคา ดันไปตกอยู่กับห้องใต้หลังคาแทน ซึ่งมีแนวทางแก้ไขง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ :

1.บุฉนวนกันความร้อนหนาเป็นพิเศษใต้แปหรือใต้จันทันและทําฝ้าด้วยยิบซั่มบอร์ด

2.ให้มีอากาศถ่ายเทในห้องได้ตลอดเวลา น่าทําเป็นบานเกล็ดติดตาย ตึงลวดไว้ ไม่น่าทําช่องเปิดที่ต้องใช้คนเปิดอย่างเดียว (เพราะจะไม่มีเวลาเปิด ความร้อนจะไม่ถ่ายเท) บานเกล็ดติดตายจะเพียงพอกับการถ่ายเทอากาศแล้ว เพราะที่สูงแบบห้องใต้หลังคาจะมีลมแรงกว่าธรรมดา

3.หากมีผนังที่กระทบแสงแดดโดยตรง และไม่มีร่มเงาของหลังคา ควรทำเป็นผนัง 2 ชั้น ด้านนอกเป็นก่ออิฐบุฉนวนกันความร้อนและแผ่นยิบซั่มด้านใน

 

5.ปูกระเบื้องหลังคาบนตึกสูง อย่าลืมยึดเหนี่ยวให้ดี ๆ

อาคารสูง ๆ จะมีลมเข้ามากระทํากระทบต่อแผ่นหลังคารุนแรง ทั้งลมที่พัดเข้าสู่อาคารโดยตรง และลมที่พัดย้อนจากข้างล่างขึ้นไป หากคุณอยากมุงหลังคาตึกคุณด้วยกระเบื้องที่ใช้มุงบ้านสองชั้น ต้องสั่งให้ช่างยึดเกี่ยวผูกพันร้อยลวด ให้ครบถ้วนตามวิธีกรรม และค่าแนะนําของบริษัทผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด และหากเป็นไปได้ (ถ้าคุณกล้าพอ) น่าจะไปตรวจดูด้วยตัวเองว่า ช่างเขาทําถูกวิธีหรือเปล่า ไม่เช่นนั้นวันดีคืนดีตํารวจอาจมาเชิญตัวคุณให้ไปติดคุกได้ เพราะเจ้ากระเบื้องหลังคาคุณดันบินออกมาฆ่าคน !!

 

6.ตะเฆ์สัน ตะเฆราง คืออะไร

ตะเฆสัน และ ตะเฆราง คือสันของหลังคาที่เอียง ๆ (ที่ไม่เอียงอยู่เป็นแนวระนาบเขาเรียกว่า สันหลังคา) ตะเฆ์สันจะเห็นเป็นสันขึ้นมา เมื่อไรที่เล็งเห็นตะเฆ่สันไม่ตรงเป็นเส้นตรง แสดงว่าหลังคาเริ่มจะมีปัญหา ต้องรีบแก้ไข เพราะหลังคาอาจกําลังพังลงมา ตะเฆราง จะเห็นเป็นรางหุบลงไป ปัญหาของตะเฆรางก็คือจะเป็นจุดที่หลังคาคุณจะรั่วได้ อาจเพราะตะเฆ่บิด หรือรางน้ำในตะเฆ์บิดหรืออุดตัน หากฝ้าเพดานคุณมีน้ำซึมออกมา สิ่งแรกที่น่าตรวจดูคือตะเฆรางนี่แหละ บ้านใดที่ไม่มีตะเฆ่เลย โอกาสที่หลังคาจะรั่วมีน้อย แต่คนเขาไม่นิยมกัน

 

7.อย่าลืมตะเฆ์สัน ตะเฆรางจะต้องทํามุม 45 องศาในแปลนเสมอ

หากคุณรู้จักตะเฆ์สัน ตะเฆรางแล้ว คุณทราบหรือไม่ว่าเจ้าตะเฆสัน ตะเฆ่ราง จะต้องทํามุมกับแนวสันหลังคาเป็น 45 องศาเสมอในรูปแปลน ไม่ว่าคุณจะกําหนดความลาดเอียงของหลังคาเป็นกองศาก็ตาม เพราะหากองศาไม่ได้ 45 องศาตามแปลน คุณจะก่อสร้างไม่ได้ เพราะแนวตะเฆ์สัน ตะเฆ่รางจะฉีก ถ่างห่างออกจากกันจนคุณวางครอบมุมไม่ได้

 

8.เตรียมทางระบายน้ำฝนให้เพียงพอ สําหรับที่จอดรถที่ทําหน้าที่เป็นหลังคา

อาคารหลายอาคารที่ออกแบบให้เป็นอาคารที่จอดรถและมีตึก (Tower) ตั้งอยู่ข้างบน โดยที่จอดรถจะทําหน้าที่เป็นหลังคาดาดฟ้าส่วนเตี้ยไปด้วย ซึ่ง หลายท่านจะออกแบบให้มีรูระบายน้ำ (Floor Crain) เอาไว้ไม่เพียงพอ เพราะนอกจากดาดฟ้านั้นจะรับน้ําฝนโดยพื้นที่ของมันเองแล้ว ยังต้องรับน้ำฝน ที่มาจากตัว Tower ด้วย ปริมาณน้ำจึงมากกว่าที่คํานวณไว้ ทําให้รูระบายน้ำ ที่เตรียมไว้ระบายไม่ทัน น้ำก็จะท่วม และไหลลงสู่ทางลาดรถวิ่ง และไปสู่ชั้นอื่น ๆ แล้วก็เข้าช่องท่อไฟ ช่องลิฟท์ แก้ไขกันยาวเลย

 

อีกประการหนึ่งที่ควรจะระวังก็คือ การจัดเตรียมความลาดของพื้นที่จอดรถ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคอนกรีตหยาบ (คอนกรีตที่เทเสร็จแล้วไม่มีการปรับแต่ง ระดับหน้าอีกครั้ง) ที่ความลาดในตอนทําโครงสร้างไม่ได้ลาดไปสู่รูระบายน้ำ ทําให้น้ำแทนที่จะไหลออกจากตึก อาจจะไหลกลับเข้ามาในตึกแทน อันตรายเชียว

 

9.ดาดฟ้ารั่ว แก้ไขอย่างไร

หากดาดฟ้ารั่ว ข้อแนะนำข้อแรกก็คือ อย่าเทปูนทับหน้าลงไปอีก เพราะนั่นไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา (แต่จะสร้างปัญหามากขึ้นเพราะยังรั่วเหมือนเดิม และเพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างโดยไม่จําเป็น) ลองเอาน้ำราดพื้นดาดฟ้า (ตอนแดดออก) ดูว่ามีรอยแตกที่พื้นดาดฟ้าหรือเปล่า ถ้ามีก็แสดงว่านั่นเป็นช่องที่น้ำเล็ตรอดลงไปข้างล่าง หากไม่มี ก็น่าจะเกิดจากรอยต่อตรงขอบของผนังดาดฟ้า (ซึ่งน่าจะมีรอยแสดงไว้)

 

ให้ลองทำการค้ทยาแนวแตกเหล่านั้นดู หากน้ำไม่รั่วแล้ว ก็มั่นใจว่าหาที่มาได้ แต่อย่าเพิ่งหยุดแค่นั้น ต้องทําอย่างอื่นต่อไป โดยการเรียกบริษัททําระบบกันซึม (อย่าใช้ผู้รับเหมาธรรมดา) มาทําระบบกันซึมให้ ระบบกันซึมนี้จะมีทั้งน้ำยาทาและแผ่นยางบาง ๆ วางซ้อนทับกันหลายชั้นแล้วจะเทปูนทับหน้าเพื่อเข้าใช้ดาดฟ้าสะดวกขึ้น หรือไม่ก็สามารถทําได้ภายหลัง หรือจะใช้แผ่น Solar Sab ปูทับไปก็แล้วแต่เลือก

 

Source : ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง โดย : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์