วันอาทิตย์, 5 มกราคม 2568

8 เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับไฟฟ้าในบ้าน

ในบ้านส่วนใหญ่มืดมากกว่าสว่าง ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะบ้านจะต้องสว่างไปซะทุกที่ บางจุดที่เราไม่ได้ใช้งานบ่อย ๆ ก็เปิดไฟหรือช่องหน้าต่างให้พอมีแสงสว่างก็พอ แต่หากมุมที่เราใช้งานอยู่เสมอกลับมืดหรือไม่สว่างเท่าที่ควร อาจะทำให้คนในบ้านมีปัญหาในด้านสุขภาพได้ เพราะความมืดสื่อให้เห็นถึงความซึมเศร้า เงียบเหงา เป็นพลังที่หยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวใด ๆ นอกจากนั้นยังกระทบไปถึงเรื่องรายได้ด้วย เพราะก่อสภาพอุดตันเกิดขึ้น ในเรื่องของสิ่งลี้ลับ ก็อาจทำให้เกิดอาการเห็นภูตผีวิญาณขึ้นมาได้ เพราะความมืดเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งลี้ลับอยู่แล้ว

 

วิธีแก้เคล็ดฮวงจุ้ย

ในช่วงเวลากลางวัน ควรเปิดประตูหน้าต่าง เพื่อให้แสงสว่างส่องเข้ามาอย่างเป็นธรรมชาติ รวมถึงจะทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกด้วย คนในบ้านจะมีจิตใจที่เบิกบานแจ่มใส ไม่รู้สึกหดหู่เพราะบรรยากาศทึม ๆ มึด ๆ ในบ้าน ทำให้บรรยากาศดี ๆ กลับคืนมาได้อีกครั้ง หากมีเฟอร์นิเจอร์ที่ปิดบังแสงสว่าง ก็ให้ทำการจัดวางใหม่ เพื่อรับพลังงานดี ๆ จากแสงสว่างอยู่เสมอ

 

 

8 เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับไฟฟ้าในบ้าน

1.BUS DUCT คืออะไร และสร้างปัญหาอะไร

Bus แปลว่า รถเมล์, Duct แปลว่า ท่อ, แต่ Bus duct แปลว่าแท่งโลหะ ที่ใช้แทนสายไฟเมื่อต้องการใช้ไฟมาก ๆ ส่วนใหญ่ทําด้วยทองแดงหรืออลูมิเนียม จะเห็นได้ตามอาคารใหญ่ ๆ หรือสถานที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้ามาก ๆ เนื่องจากสายไฟขนาดที่ใหญ่ที่สุดก็ไม่เพียงพอกับกระแสไฟฟ้านั้น หรือถ้าเพียงพอก็จะราคาแพงมาก

 

Bus duct มักจะเป็นตัวสร้างปัญหาให้อาคาร หากสถาปนิกไม่ได้เตรียมทางเดินให้มันเดินจากห้องไฟฟ้าไปสู่ช่องท่อ เพราะ Bus duct เป็นแท่งโลหะที่หนักมาก (ประมาณ 300 กิโลกรัมต่อท่อน) และยากต่อการหักเลี้ยว (ต้องมีระยะโค้งให้พอ) บางครั้งก็เอาทางเดิน Bus duct ไปผ่านโถงอาคาร หรือกําแพงลิฟท์ หากท่านกําลังออกแบบขนาดใหญ่อยู่ อย่าลืมถามวิศวกรไฟฟ้าสักหน่อยว่าเขาจะเดิน Bus duct ได้อย่างไร

 

2.คิดทําสํานักงานใหม่ อย่าลืมทำรางใส่สายไฟด้วย

อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้แล้วในสํานักงาน ปัจจุบัน แต่ปัญหามักจะเกิดขึ้นว่าเจ้าอุปกรณ์ข้างต้นจะต้องเดิน “สาย” ติดต่อกัน หากคุณกําลังทําสํานักงานใหม่ น่าจะเตรียมเพื่อสายเหล่านี้ไว้ ที่ดีที่สุด ก็คือการยกพื้นอีกชั้นหนึ่ง (หรือทํารางที่พื้น) เพื่อให้เจ้าสายเหล่านี้ เดินลอดใต้พื้นนั้น อยากจะให้มันโผล่ตรงไหนก็โผล่ได้ จะได้ต่อได้สะดวกและไม่เดินเตะกันอย่างที่เป็นกันทุกวันนี้

 

3.มิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านกับที่อพาร์ทเมนท์ต่างกันตรงไหน

มิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านเป็นของการไฟฟ้า แต่มิเตอร์ที่อพาร์ทเมนท์เป็นของเจ้าของอาคาร  โดยปกติมิเตอร์ของการไฟฟ้าจะเผื่อไฟเอาไว้บ้าง เช่น คุณขอมิเตอร์ไฟขนาด 5 แอมแปร์ การไฟฟ้าจะเอามิเตอร์ขนาด 5-15 แอมแปร์มาให้ หรือถ้าคุณขอมิเตอร์ขนาด 15 แอมแปร์ การไฟฟ้าจะเอามิเตอร์ขนาด 15-45 แอมแปร์มาให้ ซึ่งแปลว่าในบางโอกาส คุณมีสิทธิ์ที่จะใช้ไฟฟ้าเกินกว่าที่คุณมี (หรือคุณขอไว้) แต่ที่อพาร์ทเมนต์ เขาให้เท่าไรก็ใช้ได้เท่านั้น อาจเป็นเพราะเขาเตรียมมิเตอร์โดยไม่เผื่อให้เลย หรือหากเผื่อเขาก็มีสวิตซ์บอร์ดควบคุมไว้

 

4.ไฟฟ้าในครัววางแผนไว้อย่างไร

การป้องกันไฟไหม้เวลาคุณไม่อยู่บ้านอย่างหนึ่งก็คือ การ “ปิดไฟ” ที่เรามัก เรียกว่า “ปิดคัตเอาท์” เพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต แต่คุณมักไม่สามารถปิดมันได้ เนื่องจากตู้เย็นในครัวของคุณจะละลายหมด หากเป็นไปได้ขอแนะนําว่า ควรแยกวงจรไฟฟ้าของครัวออกมาต่างหาก เพื่อคุณจะได้ “ปิดคัตเอาท์” ส่วนต่าง ๆ ในบ้านได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องกังวลว่าอาหารในครัวของคุณจะบูดเสีย

 

5.มีปลักฝังในเสาต้องฝังให้ดีไม่งั้นบ้านอาจพังได้

ปล็กหรือสวิตซ์ไฟทั้งหลาย จะมีกล่องเหล็กสําหรับสายไฟเข้าออกอยู่ข้างหลัง ซึ่งมีความหนา (ความลึก) ประมาณ 5 ซม. หากไปฝังอยู่ในเสาคอนกรีต ซึ่งมีคอนกรีตหุ้มเหล็กที่มีความหนามาตรฐานเพียง 2.5 ซม. ต้องระวังให้ดีว่า ช่างไฟฟ้าจะไม่สกัดคอนกรีตและเหล็กเสาจนขาด เพื่อฝังกล่องไฟนั้น เพราะอาจทําให้บ้านทั้งหลังของคุณพังลงมาได้ เพราะเสาที่โดนตัดเหล็กจนขาด จะรับน้ําหนักของอาคารไม่ไหว

 

ขอแนะนําให้ผู้ออกแบบ พยายามหลีกเลี่ยงการวางปลั๊กสวิตซ์ไฟไว้ที่เสา หรือหากจําเป็นก็ให้ผู้ก่อสร้างเตรียมการไว้แต่เนิ่น ๆ เช่น การฝังกล่องไว้ระหว่างเหล็กเส้น หรือการพอกเสาให้มีความหนามากขึ้น (ซึ่งไม่เป็นการแก้ปัญหาที่ดีนัก) เป็นต้น

 

6.หากจะซื้อบ้านจัดสรร ทาวน์เฮ้าส์ และ คอนโด จะเลือกการเดินสายไฟอย่างไร

หากโครงการนั้นไม่มีผู้ควบคุมงาน หรือผู้บริหารการก่อสร้างที่คุณเชื่อถือได้ แนะนําว่าน่าจะเลือกสายไฟแบบเดินลอยดีกว่า (แม้ราคาจะถูกกว่าแบบเดินฝังท่อ) เพราะคุณมีโอกาสที่จะตรวจดูความเรียบร้อยเมื่อติดตั้งแล้ว หรือ ปัญหาภายหลังที่คุณรับโอนไปแล้ว อันตรายของการเดินสายในท่อก็คือ ช่วงหักบิดหรือรอยต่อท่อ หากรอยต่อของท่อไม่ดี ปากท่อที่ถูกตัดออกมีความคม เวลาดึงสาย สายไฟจะฉีกขาดจากความคมของรอยตัดที่ปากท่อ ในขณะที่คุณไม่รู้เรื่องอะไรเลย

 

7.Fire Alarm หรืออุปกรณ์สัญญาณเตือนไฟไหม้มีกี่อย่าง

เวลาเกิดไฟไหม้ขึ้นในอาคาร สิ่งที่ตามมาก็คือการเกิด “ควัน” และ “ความ ร้อน” จึงมีการเตือนว่ามีไฟไหม้ จึงใช้อุปกรณ์ดักจับและส่งสัญญาณอยู่ 2 ชนิด คือ 1.) Smoke Detector คือ เครื่องดักจับ “ควัน” 2.) Heat Detector คือเครื่องดักจับ “ความร้อน” ซึ่งอุปกรณ์ทั้งสองอย่างจะส่งเสียงหรือสัญญาณให้ทราบ บางอย่างก็จะส่งเสียง ณ จุดที่เกิดเหตุ (ที่ที่มันโดนติดตั้งอยู่) บางอย่างก็จะส่งสัญญาณไปสู่ห้องควบคุมโดยตรง ไม่เกิดเสียงที่ตัวมันเอง บางอย่างก็จะส่งสัญญาณไปที่ห้องควบคุมและรอสักพัก หากยังไม่มีการทําอะไรก็จะส่งเสียงดังขึ้นที่ตัวมันเอง หรือทั้งตึกเลยก็ได้

 

การเลือกใช้อุปกรณ์เหล่านี้ เป็นเรื่องไม่ยากเย็นนัก เพราะไม่มีอะไรยุ่งยาก แต่สิ่งสําคัญที่สุดของมันก็คือการ “บํารุงรักษา” อย่าคิดเอาไว้เป็นเพียงเครื่องประดับอาคารเท่านั้น

 

8.อยากติด Down Light อย่าลืมเว้นที่ว่างใต้ฝ้าไว้ให้เพียงพอ

Down light คือ ดวงโคมชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างทรงกระบอกและฝังอยู่บนฝ้าเพดาน มีความยาวโคมประมาณ 15-20 เซนติเมตร ดังนั้นหากจะติดดวงโคมประเภทนี้ อย่าลืมเผื่อพื้นที่ว่างระหว่างฝ้าเพดาน กับห้องพื้นชั้นบนสัก 20-25 เซนติเมตรไว้ด้วย

 

Source : ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง โดย : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์