1.ผู้ประกันตนคลอดบุตรและมีการนัดตรวจหลังคลอด ต้องการทราบว่าการนัดตรวจหลังคลอดเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่
คำตอบ :
ผู้ประกันตนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเองในการนัดตรวจหลังคลอด เนื่องจากรวมอยู่การเหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรแล้ว
2.กรณีเกิดโรคแทรกซ้อนก่อนและหลังคลอด สามารถใช้สิทธิการรักษาได้หรือไม่
คำตอบ :
กรณีเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังคลอด สามารถเข้ารักษาสถานพยาบาลตามสิทธิได้ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข
3.บุตรเสียชีวิตในครรภ์ สามารถยื่นเบิกกรณีคลอดบุตรได้หรือไม่
คำตอบ :
เมื่อตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์ บุตรเสียชีวิตในครรภ์ จึงต้องผ่าตัดนำเด็กออก สามารถใช้ใบรับรองแพทย์แทนใบสูติบัตร เบิกในกรณีคลอดบุตรได้ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข
4.คลอดบุตรแฝดเบิกค่าคลอดบุตรได้เท่าใด
คำตอบ :
กรณีคลอดบุตรเป็นแฝดจะได้รับค่าคลอดบุตรจำนวน 13,000 บาท
5.ฝ่ายหญิงใช้สิทธิบัตรทองในการคลอดบุตร ฝ่ายชายเป็นผู้ประกันตน สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้หรือไม่
คำตอบ :
หากฝ่ายหญิงใช้สิทธิบัตรทองในการคลอดบุตร ผู้ประกันตนฝ่ายชาย มีสิทธิเบิกกรณีคลอดบุตรได้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
6.กรณีผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิกรณีคลอดบุตร คลอดได้ที่ไหนบ้าง
คำตอบ :
การคลอดบุตรสามารถใช้สิทธิที่สถานพยาบาลใดก็ได้ที่สะดวก โดยสำรองจ่ายไปก่อน แล้วยื่นเรื่องเบิกตามหลักเกณฑ์กรณีคลอดบุตร
7.ผู้ประกันตนได้รับการอนุมัติเป็นผู้ทุพพลภาพแล้ว สามารถเบิกเงินกรณีคลอดบุตรได้หรือไม่
คำตอบ :
- หากคลอดบุตรภายใน 6 เดือนหลังจากเป็นผู้ทุพพลภาพ มีสิทธิได้รับค่าคลอดบุตร
- หากได้รับการอนุมัติเป็นผู้ทุพพลภาพจากประกันสังคมแล้ว จะไม่สามารถเบิกกรณีคลอดบุตรได้
- หากได้รับอนุมัติเป็นผู้ทุพพลภาพแล้ว แต่ยังได้สิทธิคุ้มครอง 6 เดือน จะได้รับสิทธิ 4 กรณีตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข
8.ผู้ประกันตนมีอาการอักเสบในช่องท้อง ช่องคลอด หลังจากคลอดบุตร สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่
คำตอบ :
ถ้ามีอาการอักเสบในช่องท้อง ช่องคลอด หลังจากคลอดบุตร สามารถรักษาที่สถานพยาบาลตามสิทธิได้
9.ท้องได้ 4 เดือน ถ้าลาออกจากงาน จะใช้ประกันสังคมเบิกค่าคลอดได้หรือไม่
คำตอบ :
สิทธิประกันสังคมคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน จะได้รับสิทธิ 4 กรณีตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข อย่าลืมไปขึ้นทะเบียนขอเงินว่างงาน และสมัครประกันสังคมโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ได้เพื่อให้เรายังอยู่ในระบบประกันสังคมต่อไป
สายด่วนประกันสังคม สายด่วน 1506
Source : sso.go.th