วันพฤหัสบดี, 28 พฤศจิกายน 2567

ตอบ 15 ข้อสงสัยเรื่องสิทธิประกันสังคม-การส่งเงินสมทบ-การรับประโยชน์ทดแทน

10 ส.ค. 2019
3562

 

1.ผู้ประกันตนขาดส่งเงินสมทบกี่เดือน ถึงหมดสิทธิการเป็นผู้ประกันตน

คำตอบ :
ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองต่อ 6 เดือนหลังจากสิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน


2.ผู้ประกันตนมีการเปลี่ยนชื่อ – สกุล จะต้องแจ้งสำนักงานประกันสังคมหรือไม่

คำตอบ :
ต้องแจ้งสำนักงานประกันสังคม


3.ผู้ประกันตน สอบเข้าบรรจุเป็นราชการ หากต้องการใช้สิทธิราชการจะต้องทำอย่างไร

คำตอบ :
ต้องการใช้สิทธิราชการ แนะนำขอแบบ 7128 ที่หน่วยงานราชการที่ทำงานอยู่ กรอกรายละเอียดพร้อมลงชื่อในแบบฟอร์ม และส่งเอกสารไปที่หน่วยงานต้นสังกัด นับแต่วันที่มีสิทธิทางราชการ


4.กรณีเบิกสิทธิประโยชน์ทดแทนทั้ง 7 กรณี สามารถยื่นเบิกผ่านระบบออนไลน์ได้หรือไม่

คำตอบ :
ในปัจจุบันยังไม่มีนโยบาย ยื่นเรื่องเบิกสิทธิประโยชน์ทดแทนทุกกรณีผ่านระบบออนไลน์


5.นักศึกษาฝึกงาน ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคมหรือไม่

คำตอบ :
นายจ้างที่รับนักศึกษาฝึกงานเข้าทำงาน หากเป็นนักศึกษาที่มีหนังสือจากสถานศึกษา ที่ให้เข้ารับการฝึกงานตามหลักสูตรการเรียนการสอน นายจ้างไม่ต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้กับนักศึกษาเหล่านั้น เนื่องจากไม่มีสถานะความเป็นลูกจ้างของกิจการ


6.ผู้ประกันตนทำงานกับนายจ้างหลายราย ต้องปฏิบัติอย่างไร

คำตอบ :
กรณีผู้ประกันตนมีการทำงานหลายบริษัท และยังทำงานกับบริษัทเดิมอยู่ ให้แจ้งที่บริษัทใหม่ ในการกรอกแบบ สปส.1-03 แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน จะต้องระบุชื่อบริษัทที่ยังทำงานในช่อง กรณีทำงานกับนายจ้างหลายราย เนื่องจากหากมีการแจ้งขึ้นทะเบียนโดยบริษัทใหม่และไม่มีการระบุว่าทำงานกับนายจ้างหลายราย ระบบจะแจ้งให้เป็นลาออกจากบริษัทเดิม โดยอัตโนมัติและไม่ปรากฎวันที่ลาออก


7.การนำส่งเงินสมทบมีช่องทางใดบ้าง

คำตอบ :

1.หักผ่านบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ มี 8 ธนาคาร
1.1 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
1.2 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
1.3 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
1.4 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร (ธ.ก.ส.)
1.5 ธนาคารออมสิน
1.6 ธนาคาร ธนชาต จำกัด (มหาชน)
1.7 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
1.8 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

 

2. เคาน์เตอร์ธนาคาร
2.1 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
2.2 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

 

3 เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่มีสัญลักษณ์ one stop service shop

4. ห้างเทสโก้โลตัสทั่วประเทศ

5.เคาน์เตอร์บิ๊กซี ทั่วประเทศ

6.ธนาณัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ ทั่วประเทศ

7.สำนักงานประกันสังคมประกันสังคมทั่วประเทศ ยกเว้นสำนักงานใหญ่บริเวณกระทรวงสาธารณสุข


8.การชำระเงินสมทบ เสียค่าธรรมเนียมหรือไม่

คำตอบ :
ไม่เสียค่าธรรมเนียม ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2561


9.สามารถขอรับเงินสิทธิประโยชน์ทดแทนโดยช่องทางใดบ้าง

คำตอบ :

1. โอนเข้าบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ 4 ธนาคาร

1.1 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
1.2 ธนาคารกรุงไทย
1.3 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
1.4 ธนาคารออมสิน

 

2. รับทางธนาณัติ

3. รับที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / จังหวัด / สาขา ที่สะดวก ยกเว้นสำนักงานใหญ่บริเวณกระทรวงสาธารณสุข


10.หากให้ผู้อื่นรับสิทธิประโยชน์ทดแทน จะต้องดำเนินการอย่างไร

คำตอบ :
ผู้มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ทดแทน จะต้องกรอกแบบคำขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตนตามมาตรา40 พร้อมแนบเอกสารสำเนาถูกต้องทุกฉบับ และ หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มีสิทธิ และผู้รับมอบอำนาจ


11.การขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา40 โดยโอนเข้าบัญชีธนาคาร ผู้ประกันตนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการโอนหรือไม่

คำตอบ :
ผู้ประกันตนไม่เสียค่าธรรมการโอน ยกเว้น ผู้ประกันตนให้โอนธนาคารที่ไม่ได้มีการทำ MOU กับสำนักงานประกันสังคม จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราของธนาคารนั้นๆ


12.ชำระเงินสมทบ ผ่านหน่วยบริการทุกแห่งเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่

คำตอบ :
ไม่เสียค่าธรรมเนียมทุกช่องทาง ยกเว้น ธนาณัติ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศทุกสาขา


13.หากเงินในบัญชีไม่เพียงพอให้ตัดบัญชีธนาคารจะตัดบัญชีย้อนหลังหรือไม่

คำตอบ :
หากเงินในบัญชีไม่เพียงให้ตัดบัญชีธนาคาร จะไม่มีการตัดบัญชีย้อนหลัง


14.ควรนำเงินเข้าบัญชีวันที่เท่าไร

คำตอบ :
ควรนำเงินเข้าบัญชีก่อนวันที่ 15 ของทุกเดือน เพราะหากไม่มีเงินเพียงพอให้หักบัญชี จะไม่มีการตัดบัญชีย้อนหลัง


15.หากวันที่ 15 ตรงกับวันหยุดราชการ สามารถชำระเงินสมทบในวันเปิดทำการถัดไปจะต้องเสียค่าปรับหรือไม่

คำตอบ :
สามารถชำระเงินสมทบในวันทำการถัดไปได้โดยไม่เสียค่าปรับ


สายด่วนประกันสังคม สายด่วน 1506

Source : sso.go.th