1.ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คือ ใคร
คำตอบ :
ผู้ที่ทำงานเป็นลูกจ้าง บริษัท / เจ้าของกิจการ / ร้านค้า ที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม
2.ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับสิทธิกรณีใดบ้าง
คำตอบ :
สำหรับกองทุนเงินประกันสังคมจะได้รับสิทธิ
1.กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยไม่เนื่องจากการทำงาน
2.กรณีคลอดบุตร
3.กรณีทุพพลภาพ
4.กรณีเสียชีวิต
5.กรณีสงเคราะห์บุตร
6.กรณีชราภาพ
7.กรณีว่างงาน
สำหรับกองทุนเงินทดแทน จะได้รับสิทธิกรณีประสบอันตรายเจ็บป่วนเนื่องจากการทำงาน , ทุพพลภาพเนื่องจากการทำงาน , กรณีเสียชีวิตเนื่องจากการทำงาน
3.บุคคลตามมาตรา38 คือใคร
คำตอบ :
เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา33 ซึ่งลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน และภายใน 6 เดือนยังไม่สมัครเป็นผู้ประกันตนตามตรา 39
4.บุคคลตามมาตรา38 สามารถยกเลิกการใช้สิทธิคุ้มครองก่อน 6 เดือน ได้หรือไม่
คำตอบ :
บุคคลตามมาตรา38 ไม่สามารถยกเลิกสิทธิคุ้มครองก่อนครบระยะเวลา 6 เดือนได้
5.บุคคลตามมาตรา38 ได้รับการคุ้มครองกรณีใดบ้าง
คำตอบ :
- กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
- กรณีคลอดบุตร
- กรณีทุพพลภาพ
- กรณีเสียชีวิต
6.ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 คือใคร
คำตอบ :
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 / ผู้ที่ลาออกจากการทำงานที่มีการนำส่งเงินสมทบกับสำนักงานประกันสังคม
7.ผู้ที่มีสิทธิสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
คำตอบ :
เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน จะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
8.ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีใดบ้าง
คำตอบ :
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย , กรณีคลอดบุตร , กรณีสงเคราะห์บุตร , กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต , กรณีชราภาพ
9.ติดต่อสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ ที่ไหน
คำตอบ :
สำนักงานประกันสังคมที่สะดวกทุกแห่ง ยกเว้นสำนักงานใหญ่บริเวณกระทรวงสาธารณสุข
10.การสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39สำหรับคนไทยต้องใช้เอกสารใดบ้าง
คำตอบ :
แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ( สปส. 1.20 , บัตรประชาชนตัวจริงหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งราชการออกให้
11.หากได้รับอนุมัติเป็นผู้ทุพพลภาพ แล้วยังมีสิทธิเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 หรือไม่
คำตอบ :
เมื่อได้รับการอนุมัติเป็นผู้ทุพพลภาพแล้วไม่สามารถเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้อีก
12.ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สามารถนำเงินมาลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
คำตอบ :
เงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา39 สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้
13.หากต้องการลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา39 จะต้องทำอย่างไร
คำตอบ :
กรอกแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (สปส. 1-21) ยื่นเรื่องสำนักงานประกันสังคมที่สะดวกทุกแห่ง ยกเว้น สำนักงานใหญ่บริเวณกระทรวงสาธารณสุข
14.เป็นผู้ประกันตนมาตรา39 แล้วกลับไปทำงานเปลี่ยนเป็นมาตรา33 ได้ออกจากงานแล้ว อยากจะส่งเงินสบทบต่อ ต้องไปแจ้งใหม่อีกรอบใหม่หรือไม่
คำตอบ :
หากออกจากงานสิทธิคุ้มครองต่ออีก 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ลาออก และให้สมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา39 ต่อไปได้เลย
15.คนไทยที่สนใจสมัครผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
คำตอบ :
1. มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ ถึง 60 ปีบริบูรณ์
2. ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนและมีสัญชาติไทย หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
3. หากเป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้พิการ ให้ระบุลักษณะหรืออาการของผู้พิการโดยละเอียด ยกเว้นผู้พิการทางสมองหรือสติปัญญา ไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40
4. ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 , ผู้ประกันตนมาตรา 39 และไม่เป็นบุคคลที่ยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม
16.คนต่างด้าวที่สนใจสมัครผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
คำตอบ :
1. มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ ถึง 60 ปีบริบูรณ์
2. เป็นคนต่างด้าวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ที่มีถิ่นที่อยู่หรือได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษของบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ที่มี “บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย” ที่ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 สามารถขึ้นทะเบียนได้ มีผลตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2555
3. หากเป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้พิการ ให้ระบุลักษณะหรืออาการของผู้พิการโดยละเอียด ยกเว้นผู้พิการทางสมองหรือสติปัญญา ไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40
4. ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ,ผู้ประกันตนมาตรา 39 และไม่เป็นบุคคลที่ยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม
17.บุคคล(คนไทย)ที่ยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม ไม่สามารถสมัครผู้ประกันตนตามาตรา40 ได้แก่ใครบ้าง
คำตอบ :
1. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ของราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
2. นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิตหรือนักศึกษา ซึ่งเป็นลูกจ้างของโรงเรียน สถานพยาบาล วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยนั้น
3. ลูกจ้างของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
4. กิจการหรือลูกจ้างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
5. ไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐรวมทั้งไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ภายใต้บังคับว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ
18.สามารถสมัครผู้ประกันตนตามมาตรา40 ได้ช่องทางใดบ้าง
คำตอบ :
1.ติดต่อสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / จังหวัด / สาขา ที่สะดวก ยกเว้นสำนักงานใหญ่บริเวณกระทรวงสาธารณสุข
2.ผ่านเว็บ https://www.sso.go.th/section40_regist
3.ผ่านเคาน์เตอร์เซเว่น
4.หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม
19.หากเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต่อมาถูกตัด สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา39 สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้หรือไม่
คำตอบ :
ผู้ประกันตามมาตรา39 สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนลงแล้ว แต่ยังมีสิทธิการคุ้มครอง 6 เดือน สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้
20.บุคคลล้มละลายสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา40 ได้หรือไม่
คำตอบ :
บุคคลล้มละลายสามารถสมัครผู้ประกันตนตามมาตรา40 ได้ ถ้ามีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข
21.ในกรณีผู้ประกันตนตามมาตรา40 กลับเข้าทำงานเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะต้องลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 หรือไม่
คำตอบ :
หากผู้ประกันตนตามมาตรา 40 กลับเข้าทำงานเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ยังคงมีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 อยู่ ผู้ประกันตนตามตรา 40 จะลาออกหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ประกันตน เนื่องจากหากผู้ประกันตนไม่ลาออก หากวันใดที่ผู้ประกันตนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ก็ยังสามารถกลับมาเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 โดยไม่ต้องสมัครใหม่
22.ผู้ประกันตนตามมาตรา40 ลาออก จะได้รับความคุ้มครอง 6 เดือน ต่อหรือไม่
คำตอบ :
หากลาออกจากมาตรา40 จะไม่ได้รับความคุ้มครองต่อ 6 เดือน เหมือนกับ ผู้ประกันตนตามาตรา 33 และ ผู้ประกันตนตามมาตรา 39
23.หากผู้ประกันตนตามมาตรา40 ได้รับการคืนสิทธิเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะต้องนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนทั้ง 2 มาตรา หรือไม่
คำตอบ :
จะต้องนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เท่านั้น ไม่สามารถนำส่งเงินสมทบพร้อมกันทั้ง 2 มาตรา ได้
24.เงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สามารถนำไปลดหย่อนภาษี ได้หรือไม่
คำตอบ :
สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพกรกำหนด
25.การชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา40 สามารถให้บุคคลอื่นชำระแทนได้หรือไม่
คำตอบ :
สามารถให้บุคคลอื่นชำระเงินสมทบแทนได้
สายด่วนประกันสังคม สายด่วน 1506
Source : sso.go.th