3 ข้อต้องรู้ การสร้างสระว่ายน้ำที่ถูกต้อง

การสร้างสระว่ายน้ำ เป็นอีก 1 ส่วนที่บ้านหลาย ๆ หลังต้องการและอยากให้มี การสร้างให้ถูกต้อง และไม่ก่อให้เกิดปัญหาภายหลัง จึงเป็นข้อควรรู้ ที่เจ้าของบ้านและสถาปนิกและช่างก่อสร้างต้องพิจารณาร่วมกัน

 

 

1.ไม่จําเป็นจริง ๆ อย่าสร้างสระว่ายน้ำไว้ที่สูง

อาคารทั่วไป การถ่ายน้ำหนัก จะถ่ายจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ดังนั้นการเอาอะไรที่หนัก ๆ เช่น สระว่ายน้ำไปไว้บนส่วนสูง ๆ ของอาคาร จะทําให้ต้องสิ้นเปลืองเงินค่าทําระบบโครงสร้างเกินความจําเป็น หากหลีกเลี่ยงได้ ก็อย่าเอาสระว่ายน้ำไปไว้ที่สูง ยกเว้นแต่ว่าไม่มีที่ดินเพียงพอ และที่ดินราคาแพงเกินกว่าราคาโครงสร้างที่เพิ่มขึ้น


2.ทําสระว่ายน้ำ ต้องตระเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ให้ผู้ใช้ให้พร้อม

สถาปนิกหลายท่าน อาจออกแบบสระว่ายน้ำให้เหมือนบ่อเลี้ยงปลา เพราะไม่ได้เตรียมเนื้อที่หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ไว้ให้ระบบสระว่ายน้ำเพียงพอ จึงขอสรุป คร่าว ๆ ได้ดังต่อไปนี้ :

2.1. อย่าลืม Surge Tank (บ่อเก็บน้ำสํารอง เพื่อพักน้ำและทําความสะอาดน้ำ) ซึ่งต้องอยู่ใต้หรือติดกับสระน้ำ

2.2. ห้องสําหรับอุปกรณ์สระว่ายน้ำ ได้แก่ ระบบปั้ม เป็นต้น ซึ่งไม่น่ามีขนาดต่ำกว่า 2 x 3 สูง 2.5 เมตร ไม่จําเป็นต้องอยู่ติดกับสระว่ายน้ำ แต่ไม่น่าจะห่างเกิน 15 เมตร

2.3. ระบบไฟฟ้าที่จะต้องเดินสายไฟสู่ดวงโคมใต้สระหรือผนังสระ (หากต้องการ)


3.ระวังสระว่ายน้ำบริเวณเชื่อมต่อของ High Zone และ Low Zone

High Zone – Low Zone คือส่วนของอาคารที่มีความสูงต่างกัน ซึ่งจะมีระดับการทรุดตัวของอาคารแตกต่างกัน ในการทําโครงสร้างก็มักจะแยกกัน หรือ หากจะเชื่อมกันก็จะแยกการก่อสร้างกันคนละที แล้วจึงมาเชื่อมกันภายหลัง หลายคนออกแบบให้มีอาคารเตี้ย (Podium) ด้านหน้า และมีอาคารสูง (Tower) ด้านหลัง และวางสระว่ายน้ำอยู่บนชั้นสูงสุดของ Podium

 

ข้อควรคํานึงก็คือ อย่าวางสระว่ายน้ำ (รวมถึงอุปกรณ์เกี่ยวเนื่อง) คร่อมระหว่างพื้นที่ของ High Zone – Low Zone เพราะอาจเกิดปัญหาภายหลังเรื่องการรั่วซึม หรือระบบการทํางานของสระว่ายน้ำไม่มีประสิทธิภาพภายหลัง การแก้ไขจะทําได้ยากมาก


Source : ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง โดย : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์