วันพฤหัสบดี, 28 พฤศจิกายน 2567

เกร็ดความรู้สั้น ๆ พร้อมข้อคิด เกี่ยวกับรูปร่างของคุณเสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง Ep.32

มนุษย์มีโครงสร้างทางร่างกายต่างกันไป โดยมีพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดรูปร่างที่ต่างกัน ส่งผลให้เวลาที่มีอาการบาดเจ็บต่อข้อต่อและโรคที่เกี่ยวกับกระดูกต่างกันไปด้วย

รูปร่างบาง โครงกระดูกเล็ก มัดกล้ามเนื้อบาง หรือ “ผอมแห้ง”

รูปร่างแบบนี้เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน เพราะมวลกระดูกน้อย โดยเฉพาะผู้ที่มีรูปร่างบางและยังชอบสูบบุหรี่ดื่มเหล้าจะยิ่งเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น ทางที่ดีควรงดปัจจัยเสี่ยงและดื่มนมเป็นประจำ ออกกำลังกายที่ช่วยส่งเสริมให้มวลกระดูกแข็งแรง เช่น การออกกำลังกายที่ต้องกระโดดหรือวิ่ง เป็นต้น

รูปร่างบางตัวสูง ปวดหลังง่ายกว่ารูปร่างบางตัวเตี้ย

หากคุณมีรูปร่างลักษณะนี้ จะมีปัญหามากโดยเฉพาะในขณะที่ก้มเงยหลังสลับกันบ่อยๆ เพราะแรงดันในหมอนรองกระดูกขณะก้มเงยสูงกว่าคนตัวเตี้ย คล้ายทฤษฎีโมเมนตัม และเกิดหมอนรองกระดูกบริเวณเอวเคลื่อนได้ง่ายกว่าด้วย

กระดูกเล็กหากอยากอ้วนจะเสี่ยงกระดูกหัก

รูปร่างแบบนี้จะทำให้คุณอ้วนยาก (หากอยากอ้วนขึ้น) เพราะกล้ามเนื้อบาง แต่ก็มีโอกาสอ้วนได้เหมือนกัน น้ำหนักตัวที่มากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงอันตรายต่อกระดูกเมื่อเกิดอุบัติเหตุตามไปด้วย ลักษณะคนโครงกระดูกเล็กแต่อ้วนจะอ้วนก็คล้าย ๆ ผู้ที่มีพุงพลุ้ยนั่นเอง

รูปร่างตัวใหญ่ กระดูกใหญ่ มัดกล้ามเนื้อใหญ่ หุ่นนักมวยปล้ำหรือซูโม่

ลักษณะนี้อาจต้องเผชิญกับโรคข้อเสื่อมแล้วปวดข้อ โดยเฉพาะข้อเท้าและกระดูกสันหลังช่วงบั้นเอว เพราะต้องรับน้ำหนักตัวมาก การกระโดดงอเข่า นั่งตัวตรงไม่พิงพนักเก้าอี้ ยิ่งทำให้หมอนรองกระดูกและข้อเสื่อมได้เร็วขึ้น

กรณีเกิดอุบัติเหตุ คุณจะเสี่ยงได้รับอันตรายต่อกระดูกมากกว่าคนรูปร่างบาง จึงควรหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่ลงน้ำหนักกับข้อตรงๆ เลือกออกกำลังกายที่เสี่ยงต่อการลดน้ำหนักต่อข้อต่อ

เช่น การว่ายน้ำหรือปั่นจักรยานแทน และใช้รองเท้าที่ออกแบบมาเพื่อช่วยรองรับน้ำหนักบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพื่อช่วยพยุงกระดูกข้อต่อและช่วยรองรับน้ำหนักในร่างกาย

หรือผู้ที่มีรูปร่างบึก ยิ่งดูก็ยิ่งอ้วนง่าย จะมีความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ซึ่งเกิดในผู้ชายมากกว่าและยังมีอัตราเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจ

คนที่โครงสร้างใหญ่จะมีลักษณะมัดกล้ามเนื้อใหญ่ตามไปด้วย จึงทำให้สะสมไขมันได้มากและเสี่ยงต่อโรคได้มากขึ้น รวมถึงเมื่อคุณต้องการลดความอ้วนคุณจะลดได้ช้ากว่าคนโครงสร้างผอมบางด้วย

หุ่นดีลักษณะกระดูกและกล้ามเนื้อแบบผสมหรือ “หุ่นนายแบบ”

หากคุณมีพื้นฐานโครงสร้างที่ดี แต่คุณก็คงอ้วนได้อยู่นะ และได้รับผลเหมือนกับคนโครงสร้างใหญ่ เพียงแต่ดีกรีความรุนแรงน้อยกว่าขนาดเดียวกันแค่นั้นเอง

เมื่อคุณผอมคุณอาจไม่ต้องเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนเท่าคนรูปร่างบาง แต่หากก้มหรือเงยบ่อย ๆ คุณก็เสี่ยงปวดหลังและหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้มากกว่าคนตัวบางเช่นเดียวกัน

ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า โครงสร้างของร่างกาย ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ จะหนาหรือบาง จะสูงหรือเตี้ย ก็มีความเสี่ยงต่อโรคภัยที่แตกต่างกันออกไป การดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดูจะเป็นวิธีการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับปัญหาเหงือกร่นจนฟันสึกเป็นร่อง Ep.22
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับอาการของแผลร้อนใน Ep.23
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับผลเสียของการนอนดึก Ep.24

เรื่องที่เกี่ยวข้อง