นับแต่ครั้งเก่าก่อนมา ทารกแรกเกิดจะถูกเลี้ยงด้วยกล้วยบด เป็นอาหารมื้อแรกถัดจากนมแม่ คนสมัยก่อนแค่พูดถึงกล้วยบด ก็ราวจะได้ยินเสียงเด็กร้อง เพราะความหิวขึ้นมาทันที
ในชีวิตประจำวันของคนไทยเรา ก็จะคุ้นเคยกับกล้วยนานาชนิดเช่นกัน เช่น กล้วยน้ำว้า เพราะเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร โดยเฉพาะใยอาหาร ที่ช่วยล้างพิษให้ลำไส้ แถมในคนแก่ที่ขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ก็สามารถกินกล้วยน้ำว้าแทนได้เลย
ในโลกใบนี้ มีกล้วยอยู่หลายแบบมากมาย พอ ๆ กับเผ่าพันธุ์มนุษย์ แต่ส่วนใหญ่มักให้ประโยชน์คล้าย ๆ กัน ยกเว้นบางพันธุ์ ที่จะเหนือกว่าในแง่ของสีสัน ที่บอกถึงวิตามินสำคัญ ๆ ที่อาจจะมีมากกว่าชนิดอื่น ๆ อยู่สักหน่อย
“กล้วยแดง” สีแดงโดดประโยชน์เด้ง สีที่สวย เป็นสีของเปลือก ซึ่งสีอย่างนี้ ถ้าไปคุยกับคุณปู่คุณย่า จะรู้จักว่าเป็นสีนาค คือ สีของโลหะสูงค่าอย่างหนึ่ง
กล้วยชนิดนี้เป็นกล้วยรักเมืองไทย เพราะเป็นกล้วยเขตร้อน มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศแถบอเมริกากลาง เม็กซิโก คอสตาริกา หรือแถวบ้านเรา เช่น อินโดนีเซียและออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี กล้วยชนิดนี้ยังมีชื่อของมันแบบไทย ๆ ซึ่งคนไทยเราเรียกง่าย ๆ ตามตาเห็นว่า “กล้วยแดง”
นอกจากสารอาหารในกล้วยแดงที่มีอยู่มากแล้ว ประโยชน์ต่าง ๆ ก็ไม่แพ้ความสวยของกล้วยเลย ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี น้ำตาลซูโครส ฟรุกโตส โพแทสเซียม ที่มีมากที่สุด และใยอาหารแบบละลายน้ำได้
ส่วนสิ่งที่เราอยากรู้ว่าข้างในเนื้อมันเป็นสีอะไร ต้องขอบอกว่าเป็นคนละสีกับเปลือก คือ สีจะออกเป็นสีเหลือง คล้ายกล้วยชนิดอื่น แต่ออกจะเข้มกว่าและออกส้มอ่อน ส่วนรสชาติของมันต่างจากกล้วยทั่วไปตรงที่ มีรสชาติอมเปรี้ยวอยู่สักหน่อย ด้วยความที่กล้วยแดงมีวิตามินซีอยู่มาก
ที่เมืองนอก มักจะบอกว่าเหมือนกับกินกล้วยผสมกับราาสเบอรี่ที่เป็นลูกไม้ฝรั่งเข้าไป ถ้าในไทยเราก็อาจจะคล้าย ๆ กินกล้วยปั่นกับมะยมนิด ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า รับประทานตอนสุขแค่ไหนด้วย
10 ประโยชน์ของกล้วยแดง
นอกจากรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครแล้วกล้วยแดงยังมีประโยชน์ มากกว่าที่คิด
- มีวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงคอลลาเจนให้กับผิวพรรณ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
- มีวิตามินเอชนิดเบต้าแคโรทีน ช่วยบำรุงสายตาและสมอง
- มีเส้นใยมาก และกล้วยแดงช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
- เนื้อกล้วยแดงที่ไม่สุก จะช่วยป้องกันเบาหวานชนิดที่ 2
- มีวิตามินดีที่ช่วยบำรุงกระดูก และเหมาะกับท่านที่ผิวไม่ค่อยโดนแดด
- ให้ความสดชื่นกับระบบประสาทและสมองด้วยวิตามินบี 6
- ช่วยระบายกากอาหารจากลำไส้ ป้องกันสารพิษสะสมและท้องผูก
- ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ป้องกันอาการแสบท้องจากกรดกัดกระเพาะ และกรดไหลย้อน
- ช่วยให้ร่างกายสดชื่นจากน้ำตาลธรรมชาติ ที่เหมาะกับคนทุกวัยและคนไข้ที่เบื่ออาหาร
- รสชาติฝาดของกล้วยแดง จะช่วยบำบัดอาการท้องเสียและลำไส้ติดเชื้อจากสารเพนนิน
ด้วยรสชาติที่ออกอมเปรี้ยวนิด ๆ ของกล้วยแดงหรือกล้วยสีนาคนี้ ชาวอเมริกากลางและชาวออสเตรเลียบางพื้นที่ ที่สามารถปลูกได้ จึงมักเอามาปรุงเป็นเมนูจำพวกสลัด ด้วยรสชาติของมันที่ไม่เลี่ยน สามารถกินคู่กับผักสดได้อย่างสดชื่น หรือบางที ก็เอามาทำเป็นของว่างคล้าย ๆ บ้านเรา คือ กล้วยแผ่นทอดกรอบ และอีกหลาย ๆ เมนู ที่แล้วแต่จะรังสรรค์ขึ้นมา