น้ำมันปลา คือ น้ำมันที่สกัดจากส่วนของเนื้อปลา หนัง หัว และหาง ของปลาทะเลน้ำลึกโดยเฉพาะปลาในเขตหนาว
น้ำมันปลามีอะไร?
ในน้ำมันปลา มีสารอาหารที่เรียกว่า “กรดไขมัน” ในน้ำมันปลามีกรดไขมันหลายชนิดที่สำคัญ และมีการนำมาใช้ ทางการแพทย์ คือ กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 และ โอเมก้า 6 ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated fatty acid = PUFA)
กรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 มีกรดที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ EPA (Eicosapentaenoic = กรด ไอ-โคซาเพนตาอีโนอิก) และ DHA (Docosahexaenoic acid = กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิก) เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายในวงการแพทย์ว่า น้ำมันปลา คือ หนึ่งในอาหารเสริมสุขภาพที่ให้ประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค และให้ผลดีมากในการลดไขมันในเลือด และลดระดับไตรกรีเซอไรด์ในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ โรคความดันสูง และโรคเบาหวาน
น้ำมันปลากับน้ำมันตับปลาต่างกันยังไง?
เรารู้จัก “ น้ำมันตับปลา ” มานานแล้ว โดยใช้เป็นอาหารเสริม ซึ่งมีวิตามินที่สำคัญคือ วิตามินเอ และ ดี น้ำมันตับปลาเป็นน้ำมันที่สกัดจากตับปลาทะเลบางชนิด เช่น ปลาคอด (COD) ส่วนน้ำมันปลาไม่ใช่น้ำมันตับปลา แต่เป็นน้ำมันที่สกัดมาจากส่วนหัวหรือเนื้อปลาทะเล
ในน้ำมันปลานี้ จะอุดมไปด้วยกรดไขมันจำเป็น ซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ กรดไขมันจำเป็นชนิดนี้เป็นกรดไขมันประเภทไม่อิ่มตัว มีชื่อเรียกว่า “โอเมก้า 3” ซึ่งมีอยู่มากในน้ำมันปลาเป็นปริมาณมาก
1.บรรเทาอาการโรคข้อกระดูกอักเสบ ไม่เฉพาะแคลเซียม วิตามินดี และแมกนีเซียม เท่านั้น แต่น้ำมันปลาก็ยังช่วยให้สุขภาพกระดูกดีขึ้นได้
2.ช่วยลดอาการปวดไมเกรนได้ กรดไขมันในน้ำมันปลา จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพรอสตาแกลนดิน และลดการหลั่งสารซีโลโทนิน ทำให้การเกาะตัวของหลอดเลือดลดลง ในระยะที่มีการบีบตัวของหลอดเลือดในสมอง
3.กรดไขมันโอเมก้า 3 มีคุณสมบัติในการช่วยลดอาการอักเสบ อาการตึงแน่น และอาการข้อยึดตอนเช้า ในผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อมและข้ออักเสบรูมาตอยด์
4.น้ำมันปลาส่งผลดีต่อการลดน้ำหนัก มีบุตรยาก และหญิงตั้งครรภ์ กระทรวงสาธารณสุขของอเมริกาอนุญาตให้ใช้น้ำมันปลาเป็นยาที่ช่วยลดไขมันชนิดไม่ดีที่เรียกว่า “ไตรกลีเซอไรด์” ได้
5.โอเมก้า 3 จะมีส่วนช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น จึงมีผลให้ความดันลดลง โดยที่น้ำมันปลาจะไม่มีผลต่อความดันในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ
6.ช่วยชะลอความชรา
7.รักษากล้ามเนื้อที่ไร้ไขมัน (Lean muscle) ในผู้ป่วยมะเร็ง ช่วยป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อของผู้ป่วยมะเร็งที่ผ่านการทำเคมีบำบัดได้
8.ช่วยให้ผลลัพธ์ของการออกกำลังกายดีขึ้น เพราะช่วยให้ไขมันในร่างกายลดลง
9.มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน โดยนักวิจัยพบว่ากรดไขมัน EPA ในน้ำมันปลา จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้นได้
10.มีส่วนช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดได้ 20% – 50% ที่สำคัญ คือ ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย สามารถใช้ร่วมกับยาในการลดระดับไขมันในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงได้
11.เสริมสร้างพลังให้กับสมองและความจำ ช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น
กินน้ํามันปลากับวิตามินซีได้หรือไม่?
หากคุณเป็นคนที่ไม่ชอบทานเนื้อสัตว์กับผลไม้รสเปรี้ยว การเพิ่มอาหารเสริมทั้งสองตัวนี้ ก็เป็นสิ่งที่ร่างกายควรได้รับ ซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ และควรตรวจสอบอาหารเสริมทั้งสองตัวนี้ก่อน ว่าผลิตมาจากแหล่งที่ได้มาตรฐาน ไม่มีสารตกค้างใด ๆ
“Fish oil” หรือ “น้ำมันปลา” ช่วยเสริมสร้างเซลล์ให้ร่างกายแข็งแรง ส่วนวิตามินซีช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้หายได้ไวขึ้น โดยเฉพาะแผลอักเสบ และเมื่อไหร่ก็ตาม ที่เราสามารถหาแหล่งอาหารมาได้จากธรรมชาติ ก็อาจจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปได้
4 ข้อควรระวังของน้ำมันปลา:
1.ผู้ที่มีโรคประจำตัว ให้ปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ก่อนรับประทานทุกครั้ง
2.น้ำมันปลา มีคุณสมบัติต้านการจับตัวเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ที่ทำให้เลือดหยุดไหล ผู้บริโภคน้ำมันปลาปริมาณมากต่อเนื่อง จึงอาจเกิดภาวะเลือดออกได้ง่าย จึงควรระวังการรับประทานน้ำมันปลา ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกง่าย
เช่น ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ที่รับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด(ยาต้านการแข็งตัวของเลือด) เช่นยา วาร์ฟาริน (Warfarin), แอสไพริน (Aspirin) และโคลพิโดเกรล (Clopidogrel) เพราะจะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกเพิ่มมากขึ้น
3.หากต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานน้ำมันปลาก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 14 วัน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดไหลไม่หยุดจากแผลผ่าตัดได้
4.การรับประทานน้ำมันปลาในขนาดสูง จะเพิ่มปริมาณแคลอรีที่ได้รับต่อวัน จึงอาจส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ในเลือดเพิ่มขึ้น และอาจทำให้ระดับวิตามินอีในร่างกายลดลงได้
source : honestdocs , megawecare , oknation , livelonglife , haamor